พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

พระสังคิณี

กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพ๎ยากะตา ธัมมา ฯ
กะตะเม ธัมมา กุสะลา ฯ ยัส๎มิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ
โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คันธารัมมะณัง วา
ระสา รัมมะณัง วา โผฏฐัพพารัมมะณัง วา ธัมมารัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ
ตัส๎มิง สะมะเย ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ เย วา ปะนะ ตัส๎มิง สะมะเย อัญเญปิ
อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา ฯ

พระวิภังค์

ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ
สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ ฯ ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ ฯ
ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ ฯ

พระธาตุกะถา

สังคะโห อะสังคะโห ฯ สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง
อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ
อะสังคะหิตัง ฯ สัมปะโยโค วิปปะโยโค ฯ สัมปะยุตเตนะ
วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง ฯ

พระปุคคะละปัญญัตติ

ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัตติ อายะตะนะปัญญัตติ
ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินท๎ริยะปัญญัตติ ปุคคะละ-
ปัญญัตติ ฯ กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ ฯ
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม
อะปะริหานะธัมโม เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน
โคต๎ระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน
อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต
อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน ฯ

พระกะถาวัตถุ

ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
อามันตา ฯ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล
อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ฯ นะ เหวัง วัตตัพเพฯ
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ
เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล
อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ฯ มิจฉา ฯ

พระยะมะกะ

เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูลา ฯ
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา ฯ
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ

พระมะหาปัฏฐาน

เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อะธิปะติปัจจะโย อะนันตะระปัจจะโย
สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย
อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย
กัมมะปัจจะโย วิปากะปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินท๎ริยะปัจจะโย
ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย
อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย ฯ

บทสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แปล

พระสังคิณี แปล

กุสะลา
   ธัมมา     
- พระธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีกามาวะจะระกุศลเป็นต้น

อะกุสะลา
   ธัมมา    
-ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น

อัพ๎ยากะตา
   ธัมมา     
-ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลางๆ มีอยู่ มีผัสสะเจตนาเป็นต้น

กะตะเม
   ธัมมา    กุสะลา     ยัส๎ะมิง    สะมะเย
-ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง

กามาวะจะรัง    กุสะลัง    จิตตัง   

-จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้งเจ็ด คือ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖

อุปปันนัง    โหติ

-ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน

โสมะนัสสะสะหะคะตัง   
-เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ

ญาณะสัมปะยุตตัง
-ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้คือปัญญา

รูปารัมมะนัง    วา
-มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง

สัททารัมมะนัง
   วา    
-มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง

คันธารัมมะนัง    วา
-มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพระพุทธบูชาเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง

ระสารัมมะนัง    วา
-มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง

โผฏฐัพพารัมมะนัง    วา
-มีจิตยินดีในของอันถูกต้อง แล้วก็คิดให้ทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง

ธัมมารัมมะนัง    วา
-มีจิตยินดีในที่จะเจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน
มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง

ยัง    ยัง    วา    ปะนารัพภะ

-อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใดๆ

ตัส๎ะมิง    สะมะเย    ผัสโส    โหติ
-ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศลก็ย่อมบังเกิดขึ้น ในสมัยนั้น

อะวิกเขโป    โหติ
-อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดาน ก็ย่อมบังเกิดขึ้น

เย    วา    ปะนะ    ตัส๎ะมิง    สะมะเย

-อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น

อัญเญปิ    อัตถิ    ปะฏิจจะสะมุปปันนา   
-ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้ง
หลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกัน ก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม

อะรูปิโน   ธัมมา
-เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป

อิเม    ธัมมา    กุสะลา ฯ
-ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล ฯ

พระวิภังค์ แปล

ปัญจักขันธา

-กองแห่งธรรมชาติทั้งหลายมีห้าประการ

รูปักขันโธ

-รูป ๒๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง

เวทะนากขันโธ

-ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขและเป็นทุกข์
เป็นโสมนัสและโทมนัส และอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง

สัญญากขันโธ

-ความจำได้หมายรู้ ในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ อันบังเกิดขึ้นในจิต เป็นกองอันหนึ่ง

สังขารักขันโธ

-เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่างๆ
มีบุญเจตสิกเป็นต้น ที่ให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง

วิญญาณักขันโธ

-วิญญาณจิต ๘๙ ดวงโดยรอบสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษ
มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง

ตัตถะ
   กะตะโม    รูปักขันโธ
-กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้น เป็นอย่างไรบ้าง

ยังกิญจิ
   รูปัง
-รูปอันใดอันหนึ่ง

อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง

-รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูที่เป็นอนาคตอันยังไม่มาถึง
และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่

อัชฌัตตัง
   วา
-เป็นรูปภายในหรือ

พะหิทธา
   วา
-หรือว่าเป็นรูปภายนอก

โอฬาริกัง
   วา
-เป็นรูปอันหยาบหรือ

สุขุมัง วา
-หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม

หีนัง
   วา   
-เป็นรูปอันเลวทรามหรือ

ปะณีตัง    วา

-หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง

ยัง
   ทูเร    วา
-เป็นรูปในที่ไกลหรือ

สันติเก    วา

-หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้

ตะเทกัชฌัง
   อะภิสัญญูหิต๎วา
-พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลเข้ายิ่งแล้ว ซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน

อะภิสังขิปิต๎วา

-พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว

อะยัง
   วุจจะติ    รูปักขันโธ ฯ
-กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่าเป็นรูปขันธ์แล ฯ

พระธาตุกถา แปล

สังคะโห
  
-พระพุทธองค์สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑

อะสังคะโห

-พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑

สังคะหิเตนะ
   อะสังคะหิตัง
-พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว

อะสังคะหิเตนะ    สังคะหิตัง
-พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์

สังคะหิเตนะ    สังคะหิตัง
-พระพุทธองค์สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว

อะสังคะหิเตนะ    อะสังคะหิตัง
-พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ ซึ่งจิตเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันไม่ได้สงเคราะห์

สัมปะโยโค   
-เจตสิกธรรมทั้งหลาย อันประกอบพร้อมด้วยกับจิต ๕๕

วิปปะโยโค   
-เจตสิกธรรมทั้งหลาย อันประกอบแตกต่างกันกับจิต

สัมปะยุตเตนะ    วิปปะยุตตัง
-ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกัน เป็นหมวดเดียวกัน

วิปปะยุตเตนะ    สัมปะยุตตัง
-ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกัน เป็นหมวดเดียวกัน

อะสังคะหิตัง
-พระพุทธองค์ ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่ควรสงเคราะห์ ให้ระคนกัน

พระปุคคลปัญญัตติ แปล

ฉะปัญญัตติโย

-ธรรมชาติทั้งหลาย ๖ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

ขันธะปัญญัตติ

-กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ
อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

อายะตะนะปัญญัตติ

-บ่อแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

ธาตุปัญญัตติ

-ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เ
เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

สัจจะปัญญัตติ

-ของจริงอย่างประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

อินท๎ริยะปัญญัตติ

-อินทรีย์ ๒๒ เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

ปุคคะละปัญญัตติ

-บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

กิตตาวะตา
   ปุคคะลานัง   
-แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ

ปุคคะละปัญญัตติ
-บุคคลที่เป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้

สะมะยะวิมุตโต   
-พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบันเป็นต้น

อะสะมะยะวิมุตโต
-พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีสมัย มีพระอรหันต์เป็นต้น

กุปปะธัมโม   
-ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูญไป

อะกุปปะธัมโม
-ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่กำเริบ

ปะริหานะธัมโม   
-ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง

อะปะริหานะธัมโม
-ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอย

เจตะนาภัพโพ
  
-ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว
ไม่สามารถที่รักษาไว้ในสันดาน

อะนุรักขะนาภัพโพ

-ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว
ตามรักษาไว้ในสันดาน

ปุถุชชะโน
  
-บุคคลที่มีอาสะวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน

โคต๎ระภู
-บุคคลผู้เจริญในพระกรรมฐาน ตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู

ภะยูปะระโต

-บุคคลผู้เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบื้องหน้า

อะภะยูปะระโต
-พระขีณาสะวะ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว

ภัพพาคะมะโน
  
-บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น

อะภัพพาคะมะโน
-บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้มรรคผลในชาตินั้น

นิยะโต   
-บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริยกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น
ตายแล้วไปตกนรกเป็นแน่

อะนิยะโต
-บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม

ปะฏิปันนะโก
  
-บุคคลผู้ปฏิบัติมั่นเหมาะในพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค

ผะเลฏฐิโต
-บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น ตามลำดับ

อะระหา   
-บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส

อะระหัตตายะ    ปะฏิปันโน
-บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตตผล เป็นผู้สมควรแล้ว
เป็นผู้ไกลแล้ว จากกิเลส

พระกถาวัตถุ แปล

ปุคคะโล

-มีคำถามว่าสัตว์ว่าบุคคลว่าหญิงว่าชาย

อุปะลัพภะติ  
-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด

สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้
แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ

อามันตา

-มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่

โย
-มีคำถวามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น
ทั้งหลายเหล่าใด

สัจฉิกัตโถ    ปะระมัตโถ
-เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน

ตะโต    โส
-โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น

ปุคคะโล  
-ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย

อุปะลัพภะติ

-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน

สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ

-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้
แปรผันดังนี้ มีอยู่หรือ

นะ    เหวัง    วัตตัพเพ
-มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์ขันธ์ ๕ เป็นต้น
เราไม่มี พึงกล่าวเชียวหนอ

อาชานาหิ    นิคคะหัง  
-ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวผิด
 
หัญจิ    ปุคคะโล
-ผิแลว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
  
อุปะลัพภะติ
-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
  
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ
-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
  
เตนะ
-โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น
  
วะตะ    เร
-ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าอันเจริญ

วัตตัพเพ    โย
-ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น อันเราพึงกล่าว
  
สัจฉิกัตโถ    ปะระมัตโถ
-เป็นอรรถอันกระทำให้สว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม
  
ตะโต    โส   
-โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น

ปุคคะโล
  
-ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย

อุปะลัพภะติ
 
-อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
 
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ
-โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้

มิจฉา
-ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกัน

พระยมก แปล

เย    เกจิ  
-จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
 
กุสะลา    ธัมมา
-ธรรมที่เป็นกุสลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

สัพเพ    เต  
-จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น

กุสะละมูลา
-
เป็นมูลเป็นที่ตั้งรากเง่าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

เย    วา    ปะนะ   
-อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น

กุสะละมูลา
-เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเง่าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

สัพเพ    เต    ธัมมา
-ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
  
กุสะลา ,    
-ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

เย    เกจิ   
-จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด

กุสะลา    ธัมมา
-เป็นธรรมเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

สัพเพ    เต   
-จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น

กะสุละมูเลนะ    เอกะมูลา
-เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุข
อันบัณฑิตควรสะสมไว้

เย    วา    ปะนะ   
-อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น

กุสะละมูเลนะ    เอกะมูลา
-เป็นมูลอันหนึ่งด้วย เป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุข
อันบัณฑิตควรสะสมไว้

สัพเพ    เต    ธัมมา
-ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวง

กุสะลา
-ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้

พระมหาปัฏฐาน แปล

เหตุปัจจะโย
-ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัย
เป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข

อารัมมะณะปัจจะโย
-อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด

อะธิปะติปัจจะโย
-ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด

อะนันตะระปัจจะโย
-จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง ๖ เนื่องกันไม่มีระหว่าง
เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด

สะมะนันตะระปัจจะโย
-จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง ๖ พร้อมกันไม่มีระหว่าง
เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด

สะหะชาตะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

อัญญะมัญญะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

นิสสะยะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

อุปะนิสสะยะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

ปุเรชาตะปัจจะโย
-อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

ปัจฉาชาตะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

อาเสวะนะปัจจะโย
-ชะวะนะจิตที่แล่นไปส้องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

กัมมะปัจจะโย
-บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
ในที่ดีหรือที่ชั่ว

วิปากะปัจจะโย
-และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัย
เป็นปัจจัยให้บังเกิด ในที่ดีที่ชั่ว

อาหาระปัจจะโย
-อาหาร ๔ มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

อินท๎ริยะปัจจะโย
-ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

ฌานะปัจจะโย
-ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม

มัคคะปัจจะโย
-อัฏฐังคิกะมรรคทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัย
เป็นปัจจัยให้บังเกิด ในโลกอุดร

สัมปะยุตตะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกัน
เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

วิปปะยุตตะปัจจะโย
-รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน
เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

อัตถิปัจจะโย
-รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด

นัตถิปัจจะโย
-จิตและเจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัย
เป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน

วิคะตะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิด
จิตและเจตสิกในปัจจุบัน

อะวิคะตะปัจจะโย
-จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัย เป็นปัจจัยให้บังเกิดจิต
และเจตสิกในปัจจุบัน

...............................................
คัดลอกจาก หนังสือมนต์พิธีแปล
รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวัณโณ)
วัดอรุณราชวราราม(คณะ๓) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

บทสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แปลอีกสำนวนหนึ่ง

พระสังคิณี แปล


กุสะลา   ธัมมา,    
-พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล,   ให้ผลเป็นความสุข

อะกุสะลา
   ธัมมา,    
-ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล,   ให้ผลเป็นความทุกข์,

อัพ๎ยากะตา
   ธัมมา,    
-ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต,   เป็นจิตกลาง ๆ อยู่,

กะตะเม
   ธัมมา   กุสะลา,    
-ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล

ยัส๎ะมิง
   สะมะเย,   
-ในสมัยใด,

กามาวะจะรัง
   กุสะลัง   จิตตัง   อุปปันนัง   โหติ
โสมะนัสสะสะหะคะตัง  
ญาณะสัมปะยุตตัง,    
-กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส,  คือความยินดี,  
ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,

รูปารัมมะนัง
   วา,    
-จะเป็นรูปารมณ์,   คือยินดีในรูปเป็นอารมณ์ก็ดี,

สัททารัมมะนัง
   วา,    
-จะเป็นสัททารมณ์,   คือยินดีในเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี,

คันธารัมมะนัง
   วา,    
-จะเป็นคันธารมณ์,   คือยินดีในกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี,

ระสารัมมะนัง
   วา,    
-จะเป็นรสารมณ์,   คือยินดีในรสเป็นอารมณ์ก็ดี,

โผฏฐัพพารัมมะนัง
   วา,   จะเป็นโผฏฐัพพารมณ์,  
-คือยินดีในสิ่งที่กระทบถูกต้องกายเป็นอารมณ์ก็ดี,

ธัมมารัมมะนัง
   วา   ยัง   ยัง   วา   ปะนารัพภะ,    
-จะเป็นธรรมารมณ์,   คือยินดีในธรรมเป็นอารมณ์ก็ดี,

ตัส๎ะมิง
   สะมะเย   ผัสโส   โหติ,   อะวิกเขโป   โหติ,  
เย   วา   ปะนะ   ตัส๎ะมิง   สะมะเย,   อัญเญปิ   อัตถิ  
ปะฏิจจะสะมุปปันนา  
อะรูปิโน  ธัมมา,    
-ในสมัยนั้นผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี,   อีกอย่างหนึ่ง  
ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด,   แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป,  อาศัยกันและกันเกิดขึ้น,

อิเม
   ธัมมา   กุสะลา,    
-ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล,   ให้ผลเป็นความสุข

พระวิภังค์ แปล

ปัญจักขันธา,    

-ขันธ์ห้าคือส่วนประกอบหน้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่,

รูปักขันโธ
,    
-รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปภายนอกและภายในคือร่างกายนี้,   ประกอบด้วยธาตุ ๔,

เวทะนากขันโธ
,    
-เวทนาขันธ์คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ,

สัญญากขันโธ
,    
-สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖,

สังขารักขันโธ
,    
-สังขารขันธ์คือความคิดที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ,

วิญญาณักขันโธ
,    
-วิญญาณขันธ์คือความรู้แจ้งในอารมณ์ ทางอายตนะทั้ง ๖,

ตัตถะ
   กะตะโม   รูปักขันโธ,    
-บรรดาขันธ์ทั้งหมดรูปขันธ์เป็นอย่างไร,

ยังกิญจิ
   รูปัง,    
-รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,

อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง
,    
-ที่เป็นอดีต   อนาคต   และปัจจุบัน,

อัชฌัตตัง
   วา,    
-ภายในก็ตาม,

พะหิทธา
   วา,    
-ภายนอกก็ตาม,

โอฬาริกัง
   วา   สุขุมัง   วา,    
-หยาบก็ตาม   ละเอียดก็ตาม

หีนัง
   วา   ปะณีตัง   วา,    
-เลวก็ตาม   ประณีตก็ตาม

ยัง
   ทูเร   วา   สันติเก   วา,    
-อยู่ไกลก็ตาม   อยู่ใกล้ก็ตาม,

ตะเทกัชฌัง
   อะภิสัญญูหิต๎วา   อะภิสังขิปิต๎วา,    
-ย่นกล่าวร่วมกัน,

อะยัง
   วุจจะติ   รูปักขันโธ,    
-เรียกว่ารูปขันธ์

พระธาตุกถา แปล

สังคะโห  
อะสังคะโห,    
-การสงเคราะห์   การไม่สงเคราะห์ คือ,

สังคะหิเตนะ
   อะสังคะหิตัง,    
-สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์แล้ว,

อะสังคะหิเตนะ
   สังคะหิตัง,    
-สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,

สังคะหิเตนะ
   สังคะหิตัง,    
-สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้,

อะสังคะหิเตนะ
   อะสังคะหิตัง,    
-สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้,

สัมปะโยโค
   วิปปะโยโค,    
-การอยู่ด้วยกัน   การพลัดพรากกัน คือ,

สัมปะยุตเตนะ
   วิปปะยุตตัง,    
-การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน

วิปปะยุตเตนะ
   สัมปะยุตตัง,    
-การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไป

อะสังคะหิตัง
,    
-จัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้

พระปุคคลปัญญัตติ แปล

ฉะปัญญัตติโย,    

-บัญญัติ ๖ ประการ,   อันบัณฑิตผู้รู้พึงบัญญัติขึ้น คือ,

ขันธะปัญญัตติ
,    
-การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันเรียกว่าขันธ์   มี ๕,

อายะตะนะปัญญัตติ
,    
-การบัญญัติธรรมอันเป็นบ่อเกิด (แห่งทุกข์และไม่ทุกข์),   เรียกว่าอายตนะ มี ๑๒,

ธาตุปัญญัตติ
,    
-การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่เรียกว่าธาตุ   มี ๑๘,

สัจจะปัญญัตติ
,    
-การบัญญัติธรรมที่เป็นของจริงเรียกว่าสัจจะ   มี ๔,   คือ อริยสัจจ์ ๔,

อินท๎ริยะปัญญัตติ
,    
-การบัญญัติธรรมที่เป็นใหญ่เรียกว่าอินทรีย์   มี ๒๒,

ปุคคะละปัญญัตติ
,    
-การบัญญัติจำพวกบุคคลของบุคคลทั้งหลาย,

กิตตาวะตา
   ปุคคะลานัง   ปุคคะละปัญญัตติ,    
-บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร,

สะมะยะวิมุตโต
   อะสะมะยะวิมุตโต,    
-ผู้พ้นในกาลบางคราว,   ผู้พ้นอย่างเด็ดขาด,

กุปปะธัมโม
   อะกุปปะธัมโม,    
-ผู้มีธรรมที่กำเริบได้,   ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้,

ปะริหานะธัมโม
   อะปะริหานะธัมโม,    
-ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้,   ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้,

เจตะนาภัพโพ
   อะนุรักขะนาภัพโพ,    
-ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา,   ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา,

ปุถุชชะโน
   โคต๎ระภู,    
-ผู้เป็นปุถุชน,   ผู้คร่อมโคตร,

ภะยูปะระโต
   อะภะยูปะระโต,  
-ผู้เว้นชั่วเพราะกลัว,   ผู้เว้นชั่วไม่ใช่เพราะกลัว,

ภัพพาคะมะโน
   อะภัพพาคะมะโน,   
-ผู้ควรแก่มรรคผลนิพพาน,   ผู้ไม่ควรแก่มรรคผลนิพพาน,

นิยะโต
   อะนิยะโต,    
-ผู้เที่ยง,   ผู้ไม่เที่ยง,

ปะฏิปันนะโก
   ผะเลฏฐิโต,    
-ผู้ปฏิบัติอริยมรรค,   ผู้ตั้งอยู่ในอริยผล,

อะระหา
   อะระหัตตายะ   ปะฏิปันโน,    
-ผู้เป็นพระอรหันต์,   ผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์

พระกถาวัตถุ แปล

ปุคคะโล  
อุปะลัพภะติ   สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ,    
-ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์,   คือความหมายอันแท้จริงหรือ ?,

อามันตา,
    
-ถูกแล้ว,

โย
   สัจฉิกัตโถ   ปะระมัตโถ,   ตะโต   โส   ปุคคะโล  
อุปะลัพภะติ,   สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ,    
-ปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่, 
  ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์,   คือความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ ?

นะ  
เหวัง   วัตตัพเพ,    
-ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนั้น,

อาชานาหิ
   นิคคะหัง   หัญจิ   ปุคคะโล   อุปะลัพภะติ,  
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ   เตนะ   วะตะ   เร   วัตตัพเพ,  
-ท่านจงรู้นิคหะ (การข่ม   ปราม) เถิด,   ถ้าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์,  
คือโดยความหมายอันแท้จริงแล้ว,   ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่าปรมัตถ์,  
คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่,  

โย   สัจฉิกัตโถ   ปะระมัตโถ   ตะโต   โส   ปุคคะโล  
อุปะลัพภะติ  
สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ   มิจฉา,    
-เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์,   คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น,  
คำตอบของท่านที่ว่าปรมัตถ์ คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่,  
เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์,   คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นจึงผิด,

พระยมก แปล

เย  
เกจิ   กุสะลา   ธัมมา,    
-ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,

สัพเพ
   เต   กุสะละมูลา,    
-ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล,

เย
   วา   ปะนะ   กุสะละมูลา,    
-อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใด   มีกุศลเป็นมูล,

สัพเพ
   เต   ธัมมา   กุสะลา,    
-ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล,

เย
   เกจิ   กุสะลา   ธัมมา,    
-ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล,

สัพเพ
   เต   กะสุละมูเลนะ   เอกะมูลา,    
-ธรรมเหล่านั้น   ทั้งหมดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล,

เย
   วา   ปะนะ   กุสะละมูเลนะ   เอกะมูลา,    
-อีกอย่างหนึ่งธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่มีกุศล   เป็นมูล,

สัพเพ
   เต   ธัมมากุสะลา,    
-ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล


พระมหาปัฏฐาน แปล

เหตุปัจจะโย,
    
-ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย,

อารัมมะณะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย,

อะธิปะติปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย,

อะนันตะระปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีปัจจัยไม่มีอะไรคั่นในระหว่าง,

สะมะนันตะระปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน,

สะหะชาตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย,

อัญญะมัญญะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน,

นิสสะยะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย,

อุปะนิสสะยะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีอุปนิสัยเป็นปัจจัย,

ปุเรชาตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีการเกิดก่อนเป็นปัจจัย,

ปัจฉาชาตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีการเกิดภายหลังเป็นปัจจัย,

อาเสวะนะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย,

กัมมะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย,

วิปากะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย,

อาหาระปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย,

อินท๎ริยะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย,

ฌานะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย,

มัคคะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย,

สัมปะยุตตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย,

วิปปะยุตตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่ไม่มีการประกอบเป็นปัจจัย,

อัตถิปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีปัจจัย,

นัตถิปัจจะโย
,    
-ธรรมที่ไม่มีปัจจัย,

วิคะตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย,

อะวิคะตะปัจจะโย
,    
-ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย

ที่มา http://www.oknation.net/blog/patijjachon/2008/04/21/entry-1




บทสวดยอดมุข บทสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ บทสวด ธัมมะสังคิณีมาติกา คำถวายผ้าไตรอุทิศแก่ผู้ตาย

เสียงอ่านธรรมะ

 กลับสู่หน้าหลัก