สารสูตร

ปัญญินทรีย์ เป็นยอดแห่งบทธรรม

[ ๑๐๔๐ ] ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ชนิดใด
ชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า
เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด

บทแห่งธรรม !
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า
เป็นยอด ของบทแห่งธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น เหมือนกัน .


[ ๑๐๔๑ ] ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ไม้มีกลิ่นที่แก่น ชนิดใดชนิดหนึ่ง
จันทน์แดง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด

โพธิปักขิยธรรม !
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน .


[ ๑๐๔๒ ] ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ก็โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน ?
คือ สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ...
สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์
เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตรัสรู้ .


[ ๑๐๔๓ ] ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง
จันทน์แดง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด

โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอด
แห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น เหมือนกัน .

จบ สูตรที่ ๕









พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หน้าที่ ๒๕๒ / ๔๖๙หัวข้อที่ ๑๐๔๐ – ๑๐๔๓