สารบัญ
บทนำ มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา ขันธบรรพ
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ ธัมมานุปัสสนา โพชฌงคบรรพ
กายานุปัสสนา สัมปชัญญบรรพ ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ
กายานุปัสสนา ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขสมุทัยอริยสัจ
กายานุปัสสนา ธาตุมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธอริยสัจ
กายานุปัสสนา นวสีวถิกาบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เวทนานุปัสสนา อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนา บทสวด ปฏิจจสมุปบาท
ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ หลักธรรม โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
  นันทิขยสูตร ๑ - ๒

คำนำ บทสวดมหาติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพหุลานุศาสนี มีหลักฐานปรากฏ อยู่ในชั้นพระบาลีเดิม
จัดอยู่ในกลุ่มคำสอนที่ทรงกล่าวถึงมากที่สุด เป็นพุทธพจน์ ที่นำมาใช้อ้างอิง

การศึกษามหาสติปัฏฐาน จะทำให้นักกรรมฐาน มีความมั่นใจในแนวทางที่ตนสมาทานปฏิบัติ
ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามหลักธรรม และใช้เป็นคู่มือศึกษา เมื่อเกิดความสงสัย ก็สามารถตรวจทานวิธีการ
เส้นทางผลหรืออารมณ์ปฏิบัติใน พระสูตรนี้ได้ คงเช่นเดียวกับการอ่านสลากให้เข้าใจ ก่อนกินยา
หรือการศึกษาเส้นทาง ก่อนเดินทาง ความตั้งใจจริงๆ แล้วต้องการให้ชาวพุทธเราใช้สวดสาธยาย
มหาสติปัฏฐานสูตรนี้ จนเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับการทำวัตรเช้า-เย็น เพราะนี่เป็นแผนที่
หรือสูตรสำเร็จ ในการเดินทางสู่มรรคผลนิพพาน ตามหลักของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครพนม แห่งที่ ๒ วัดป่ามหาชัย มีความมุ่งมั่น
ในการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ที่ถูกต้อง เพื่อจรรโลง พระสัทธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ให้ดำรงมั่นตลอดกาลนาน

ด้วยความสุจริตใจ

พระครูภาวนาสุตาภรณ์
(พระมหาประเทือง พุทธรักขิโต)
เจ้าอาวาส วัดป่ามหาชัย

พฤษภาคม ๒๕๕๗


ประโยชน์ของการสาธยายธรรม

๑.เพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม
(หนึ่งในเหตุห้าประการเพื่อความตั้งมั่นของพระสัทธรรม)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๕๕.

๒.เป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ
(หนึ่งในธรรมให้ถึงวิมุตติห้าประการ)
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓/๒๖.

๓.เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต
ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๗๓.

๔.เป็นองค์ประกอบของการเป็นบริษัทที่เลิศ
ทุก. อํ. ๒๐/๖๘/๒๙๒.

๕.ทำให้ไม่เป็นมลทิน
อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๑๔๙/๑๐๕.

๖.เป็นบริขารของจิตเพื่อความไม่มีเวรไม่เบียดเบียน
(หนึ่งในห้าบริขารของจิต)
มู. ม. ๑๓/๕๐๐/๗๒๘.

๗.เป็นเหตุให้ละความง่วงได้
(หนึ่งในแปดวิธีละความง่วง)
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๓/๕๘.

สาธยายธรรม เป็นเหตุละความง่วง

“ดูกรโมคคัลลานะ! เพราะเหตุนั้นแหละ
เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก
ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้าเธอยังละไม่ได้

......แต่นั้น เธอพึงตรึกตรอง พิจารณาถึงธรรม ตามที่ตนได้สดับแล้ว
ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุ ให้เธอละความง่วงนั้นได้
......ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้น เธอพึงสาธยายธรรม ตามที่ตนได้สดับมาแล้ว
ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุ ให้เธอละความง่วงนั้นได้”

สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๗/๕๘.

สาธยายธรรม
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

“ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ย่อมเป็นไป เพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง....
....“ภิกษุทั้งหลาย ย่อมทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมา

ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง”....

ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐-๑๖๑/๑๕๕

ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในการสาธยายธรรม

... “อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำ การสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาโดยพิสดาร
แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ ด้วยปัญญา ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด
(นักสวด) ยังมิใช่ ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)......

...เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ
ไม่เลิกร้างจากการหลีกเร้น ประกอบตามซึ่งธรรม เป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่า
ธรรมวิหารี(ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๒-๗๔

 

 กลับสู่หน้าหลัก