มหาสติปัฏฐานสูตร ฉบับ บาลีอักษรไทย(แปล)

สัจจบรรพ

(นำ) หันทะ มะยัง อะริยะสัจจะปัพพะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

(รับ) ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
- คือ อริยสัจ ๔

กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
- คือ อริยสัจ ๔ เป็นอย่างไรเล่า?

 อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย

อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ

อะยัง ทุกขะนิโรคะคามินี ปะฏิปะทาติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

 กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
- ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?

ชาติปิ ทุกขา
- แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา
- แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง
- แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
- แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
- โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์

กะตะมา จะ ภิกขะเว ชาติ
- ภิกษุทั้งหลาย ชาติ เป็นอย่างไรเล่า?

ยาเตสัง เตสัง สัตตานิ ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย, ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ
อะภินิพพัตติ ขันธานัง, ปาตุภาโว อายะตะนานัง ปะฏิลาโภ
- การเกิด การกำเนิด การก้าวลง การเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์
การได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชาติ
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชาติ

กะตะมา จะ ภิกขะเว ชะรา
- ภิกษุทั้งหลาย ชรา เป็นอย่างไรเล่า?

ยา เตสัง เตสัง สัตตานัง ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย ชะรา, ชีระณะตา ขัณฑิจจัง ปาลิจจัง
วะลิตจะตา อายุโน สังหานิ, อินทะริยานัง ปะริปาโก

- ความแก่ ภาวะของความแก่ มีฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว
ความเสื่อมรอบแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชะรา
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ชรา

กะตะมัญจะ ภิกขะเว มะระณัง
- ภิกษุทั้งหลาย มรณะ เป็นอย่างไรเล่า?

ยา เตสัง เตสัง สัตตานัง ตัมหา ตัมหา สัตตะนิกายา,
จุติ จะวะนะตา เภโท อันตะระธานัง มัจจุมะระณัง,
กาละกิริยา ขันธานัง เภโท กะเฬวะรัสสะ นิกเขโป,
ชีวิตินทะริยัสสะ อุปัจเฉโท
- ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป การวายชีพ ความตาย การทำกาละ ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลาย
การทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว มะระณัง
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มรณะ

  กะตะมา จะ ภิกขะเว โสโก
- ภิกษุทั้งหลาย โสกะ เป็นอย่างไรเล่า?

โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ,
สะมันนาคะตัสสะ อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ,
ผุฏฐัสสะ โสโก โสจะนา โสจิตัตตัง อันโต โสโก อันโต ปะริโสโก
- ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผากภายใน ความแห้งผากภายใน ของบุคคลผู้ถึงความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถูกธรรมคือความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว โสโก
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โสกะ

  กะตะมา จะ ภิกขะเว ปะริเทโว
- ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะ เป็นอย่างไรเล่า?

โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ,
สะมันนาคะตัสสะ อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ,
ผุฏฐัสสะ อาเทโว ปะริเทโว อาเทวะนา ปะริเทวะนา, อาเทวิตัตตัง ปะริเทวิตัตตัง
- ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน
ภาวะบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน
ของบุคคลผู้ถึงความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะริเทโว
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปริเทวะ

  กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

ยัง โข ภิกขะเว กายิกัง ทุกขัง กายิกัง อะสาตัง
- ภิกษุทั้งหลาย ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย

 กายะสัมผัสสะชัง ทุกขัง อะสาตัง เวทิยัง
- ความเสวยอารมณ์ไม่ดีที่เป็นทุกข์ เกิดแต่กายสัมผัส

อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข์

 กะตะมัญจะ ภิกขะเว โทมะนัสสัง
- ภิกษุทั้งหลาย โทมนัส เป็นอย่างไรเล่า?

ยัง โข ภิกขะเว เจตะสิกัง ทุกขัง เจตะสิกัง อะสาตัง
- ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต

เจโตสัมผัสสะชัง ทุกขัง อะสาตัง เวทะยิตัง
- ความเสวยอารมณ์ไม่ดีที่เป็นทุกข์ เกิดแต่มโนสัมผัส

อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว โทมะนัสสัง
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า โทมนัส

กะตะโม จะ ภิกขะเว อุปายาโส
- ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสะ เป็นอย่างไรเล่า?

โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ,
สะมันนาคะตัสสะ อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ,
ผุฏฐัสสะ อายาโส อุปายาโส อายาสิตัตตัง อุปายาสิตัตตัง
- ภิกษุทั้งหลาย ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคล
ผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ถึงความวิบัติอย่างใด
อย่างหนึ่ง ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว อุปายาโส
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อุปายาสะ

กะตะโม จะ ภิกขะเว อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว ยัสสะ เต โหนติ อะนิฏฐา อะกันตา,
อะมะนาปารูปา สัทธาคันธา ระสา โผฏฐัพพา
- ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้อารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แก่ผู้ใด

เย วา ปะนัสสะ เต โหนติ อะนัตถะกามา อะหิตะกามา อะผาสุกามา อะโยคักเขมะกามา
- หรือชนเหล่าใด เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล
ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากโยคะ

ยา เตหิ สังคะติ สะมาคะโต สะโมธานัง มิสสีภาโว
- การไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การอยู่ร่วมกัน
ความคลุกคลีกัน ด้วยอารมณ์ หรือบุคคลเหล่านั้น

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

  กะตะโม จะ ภิกขะเว ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ
ก็เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

อิธะ ภิกขะเว ยัสสะ เต โหนติ อิฏฐา กันตา มะนาปารูปา,
สัททา คันธา ระสา โผฏฐัพพา
- ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ปรารถนา ที่รักใคร่ ที่พอใจ ของผู้ใด

เย วา ปะนัสสะ เต โหนติ อัตถะกามา หิตะกามา,
ผาสุกามา โยคักเขมะกามา มาตา วา ปิตา วา ภาตา วา,
ภะคินี วา มิตตา วา อะมัจจา วา ญาติสาโลหิตา วา
- หรือชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล
หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา
พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสายโลหิตก็ตาม

ยา เตหิ อะสังคะติ อะสะมาคะโม อะสะโมธานัง อะมิสสีภาโว
- การไม่ได้ไปร่วม การไม่ได้มาร่วม การไม่ได้อยู่ร่วม
การไม่ได้คลุคลีกัน ด้วยอารมณ์ หรือบุคคลเหล่านั้น

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

กะตะมัญจะ ภิกขะเว ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย ความที่สัตว์ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
นั่นก็เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

ชาติ ธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาเกิดขึ้น แก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

อะโห วะตะ มะยัง นะ ชาติธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา

 นะ จะ วะตะ โน ชาติ อาคัจเฉยยาติ
- และขอความเกิดไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ

นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา

อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

ชะราธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

อะโห วะตะ มะยัง นะ ชะราธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา

นะ จะ วะตะ โน ชะรา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความแก่ไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ

นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา

อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

พะยาธิธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาเกิดขึ้นแล้วแก่หมู่สัตว์
ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

อะโห วะตะ มะยัง นะ พะยาธิธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

นะ จะ วะตะ โน พะยาธิธัมมา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความเจ็บไข้ไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ

นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา

อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

มะระณะธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์
ผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

อะโห วะตะ มะยัง นะ มะระณะธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา

 นะ จะ วะตะ โน มะระณะธัมมา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความตายไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ

นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา

อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

 โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสะธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ
- ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ ผู้มีความโศกความร่ำไรรำพัน
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

อะโห วะตะ มะยัง นะ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสะธัมมา อัสสามะ
- โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา

 นะ จะ วะตะ โน โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา อาคัจเฉยยาติ
- และขอความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจไม่พึงมาถึงเราทั้งหลายหนอ

นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง
- ก็ข้อนี้ สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา

อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
- แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

  กะตะมา จะ ภิกขะเว สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
- ภิกษุทั้งหลาย ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

เสยยะถีทัง
- ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ

รูปูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป

เวทะนูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา

สัญญูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา

สังขารูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร

วิญญาณูปาทานักขันโธ
- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ

อิเม วุจจันติ ภิกขะเว สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์

อิเม วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขัง
- ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข์ในอริยสัจ


สารบัญ บทสวดมหาสติปัฏฐานสูตร
คำนำ  
ประโยชน์ของการสาธยายธรรม ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ
บทนำ มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา ขันธบรรพ
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ ธัมมานุปัสสนา โพชฌงคบรรพ
กายานุปัสสนา สัมปชัญญบรรพ ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ
กายานุปัสสนา ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขสมุทัยอริยสัจ
กายานุปัสสนา ธาตุมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธอริยสัจ
กายานุปัสสนา นวสีวถิกาบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เวทนานุปัสสนา อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนา บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

 

 กลับสู่หน้าหลัก