หลักธรรม

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘

สติปัฏฐาน คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔

๑. กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นกายในกาย
๒. เวทนานุปัสสนา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓. จิตตานุปัสสนา พิจารณาเห็นจิตในจิต
๔. ธัมมานุปัสสนา. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ที . มหา . ๑๐ / ๓๒๕ .

สัมมัปธาน คือ ความเพียร ๔ อย่าง

๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน.
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว.
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน.
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม.
องฺ . จตุกฺก . ๒๑ / ๒๐ .

อิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง

๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น.
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น.
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ.
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น.
อภิ . วิภงฺค . ๓๕ / ๒๙๒ .

อินทรีย์  คือ ความเป็นใหญ่ในสภาพธรรมนั้นๆ ๕ อย่าง

๑. สัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในศรัทธา
๒. วิริยินทรีย์ เป็นใหญ่ในความเพียร
๓. สตินทรีย์ เป็นใหญ่ในความระลึกได้
๔. สมาธินทรีย์ เป็นใหญ่ในความตั้งมั่น
๕. ปัญญินทรีย์ เป็นใหญ่ในปัญญา
มหา. สํ . ๕ / ๑๑ - ๑๒/๘๕๘

พละ คือ ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง

๑. สัทธา ความเชื่อ.
๒. วิริยะ ความเพียร.
๓. สติ ความระลึกได้.
๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น.
๕. ปัญญา ความรอบรู้.
อินทรีย์ ๕ ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน .
องฺ . ปญฺจก . ๒๒ / ๑๑ .

โพชฌงค์ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ

๑. สติ ความระลึกได้.
๒. ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม.
๓. วิริยะ ความเพียร.
๔. ปีติ ความอิ่มใจ.
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์.
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น.
๗. อุเบกขา ความวางเฉย.
สํ . มหา . ๑๙ / ๙๓ .

มรรค คือ   หนทางถึงความดับทุกข์ ๘ ประการ

๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ
ม . มู . ๑๒ / ๒๖ . อภิ . วิภงฺค . ๓๕ / ๓๑๗ .

สังโยชน์ คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์อยู่ ๑๐ ประการ

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกิเลสกาม
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต
๖. รูปราคะ ความติดใจอยู่ในรูปธรรม
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความสำคัญตัวว่า เป็นนั่นเป็นนี่.
๙. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน
๑๐. อวิชชา ความหลงอันเป็นเหตุให้ไม่รู้จริง.
อง . ทสก . ๒๔ / ๑๘ .

อริยสัจ คือ  ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง

๑. ทุกข์ ความทนได้ยาก
๒. สมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ๘ ประการ
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/ ๑๒๗.

ขันธ์ ๕ คือ กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น ๕ กอง   

๑.   รูป     ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
๒.   เวทนา     ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ
๓.   สัญญา     ความจำได้หมายรู้
๕.  สังขาร  การปรุงแต่ง
๕.  วิญญาณ   ความรู้อารมณ์ เช่น ตาเห็นรูป เป็นต้น
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/ ๑.

อายตนะภายใน คือ ที่เชื่อมต่อ การติดต่อ ๖ อย่าง
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. อินทรีย์ ๖ ก็เรียก.
ม. ม. ๑๒/ ๙๖. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/ ๘๕.

อายตนะภายนอก คือ ที่เชื่อมต่อ การติดต่อ ๖ อย่าง
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย
ธรรม คือ อารมณ์เกิดกับใจ. อารมณ์ ๖ ก็เรียก.
ม. อุป. ๑๔/ ๔๐๑. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/ ๘๕.

วิญญาณ คือ ความรู้แจ้ง ๖ อย่าง

อาศัยรูป กระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
อาศัยเสียง กระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ
อาศัยกลิ่น กระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
อาศัยรส กระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
อาศัยโผฏฐัพพะ กระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า กายวิญญาณ
อาศัยธรรม เกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ.
ที. มหา. ๑๐/ ๓๔๔. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/ ๘๕.

สัมผัส คือ การถูกต้องสัมผัสกัน ๖ อย่าง

๑. จักขุสัมผัส  ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
๒. โสตสัมผัส  ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
๓. ฆานสัมผัส  ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
๔. ชิวหาสัมผัส  ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
๕. กายสัมผัส  ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ
๖. มโนสัมผัส  ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ
มหา. ที. ๑๐/ ๓๔๔. สํ. นิ. ๑๖/ ๔.

เวทนา คือ การเสวยอารมณ์ ความรู้สึก รสของอารมณ์ ๓ อย่าง

๑. สุขเวทนา  ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
๒. ทุกขเวทนา  ความรู้สึก ทุกข์  ไม่สบาย ทางกาย-ทางใจ
๓. อทุกขมเวทนา  ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่
มู. ม. ๑๒/๓๙๑/๕๑๑

เวทนา การเสวยอารมณ์ ๕ อย่าง

๑. สุข  ความสุข ความสบายทางกาย
๒. ทุกข์  ความทุกข์ ความไม่สบาย ความเจ็บปวดทางกาย
๓. โสมนัส  ความแช่มชื่น ปลื้มใจ สุขใจ
๔. โทมนัส  ความเสียใจ ความเศร้าโศก เศร้าหมอง ทุกข์ใจ
๕. อุเบกขา  ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
มหา. ที ๑๐/๒๒๘/๒๙๕

ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ๓ อย่าง

๑. กามตัณหา ความอยากในกาม ความเยื่อใยในกาม (กามคุณ ๕)
๒. ภวตัณหา  ความอยากในภพ (อยากเป็นนั่นเป็นนี่)  
๓. วิภวตัณหา  ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
มหา. ที ๑๐/๒๒๙/๒๙๖

เวทนา คือ การเสวยอารมณ์ ๖ อย่าง

๑. จักษุสัมผัสชาเวทนา  เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา
๒. โสตสัมผัสชาเวทนา  เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางหู
๓. ฆานสัมผัสชาเวทนา  เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก
๔. ชิวหาสัมผัสชาเวทนา  เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น
๕. กายสัมผัสชาเวทนา  เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางกาย
๖. มโนสัมผัสชาเวทนา  เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางใจ
มหา. ที. ๑๐/ ๓๔๔. สํ. นิ. ๑๖/ ๔.

ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ๖ อย่าง

รูปตัณหา  อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
สัททตัณหา อยากได้เสียง
คันธตัณหา  อยากได้กลิ่น
รสตัณหา  อยากได้รส
โผฏฐัพพตัณหา อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
ธัมมตัณหา  อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)
มหา. ที ๑๐/๒๓๐/๒๙๘

สัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเป็นอารมณ์ ๖

๑. รูปสัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททสัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธสัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสสัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมสัญเจตนา ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์
ปา. ที. ๑๑/๓๑๐/๒๕๕

วิตก   คือ ความตรึกนึกคิดมีลักษณะเป็นความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์

๑. รูปวิตก   ตรึกนึกคิดในรูป  
๒. สัททวิตก   ตรึกนึกคิดในเสียง  
๓. คันธวิตก   ตรึกนึกคิดในกลิ่น  
๔. รสวิตก   ตรึกนึกคิดในรส  
๕. โผฏฐัพพวิตก   ตรึกนึกคิดในโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง  
๖. ธัมมวิตก   ตรึกนึกคิดในธรรมารมณ์
มหา. ที. ๑๐/ ๒๓๐/๒๙๘

วิจาร  คือ ความตรองซึ่งบังเกิดสืบเนื่องขึ้นจากวิตก

๑. รูปวิจาร   ความตรองในรูป  
๒. สัททวิจาร   ความตรองในเสียง  
๓. คันธวิจาร   ความตรองในกลิ่น  
๔. รสวิจาร ความตรองในรส
๕. โผฏฐัพพวิจาร   ความตรองในโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง  
๖. ธรรมวิจาร   ความตรองในธรรมารมณ์
มหา. ที. ๑๐/ ๒๓๐/๒๙๘

สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่ง

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย
๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา
๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ
นิทาน. สํ. ๑๖/๓/๑๖

ฌาน คือ การเพ่ง

ปฐมฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตตา  
ทุติยฌาน - - ปีติ สุข เอกัคตตา  
ตติยฌาน - - - สุข เอกัคตตา  
จตุตถฌาน - - - - อุเบกขา เอกัคตตา
เวรัญชสูตร สตฺตก. อํ. ๒๓/ ๑๓๕/๑๐๑




สารบัญ บทสวดมหาสติปัฏฐานสูตร
คำนำ  
ประโยชน์ของการสาธยายธรรม ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ
บทนำ มหาสติปัฏฐานสูตร ธัมมานุปัสสนา ขันธบรรพ
กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ ธัมมานุปัสสนา อายตนบรรพ
กายานุปัสสนา อิริยาบถบรรพ ธัมมานุปัสสนา โพชฌงคบรรพ
กายานุปัสสนา สัมปชัญญบรรพ ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ
กายานุปัสสนา ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขสมุทัยอริยสัจ
กายานุปัสสนา ธาตุมนสิการบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธอริยสัจ
กายานุปัสสนา นวสีวถิกาบรรพ ธัมมานุปัสสนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เวทนานุปัสสนา อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
จิตตานุปัสสนา บทสวด ปฏิจจสมุปบาท
 กลับสู่หน้าหลัก