คำทักนิมิต

คำทักนิมิต
ในทิศตะวันออก ว่าดังนี้.-
      "ปุรตฺถิมาย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
      แปลว่า "ในทิศตะวันออก อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศตะวันออเฉียงใต้ ว่าดังนี้
     "ปุรตฺถิมาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
     แปลว่า "ในทิศน้อยแห่งทิศตะวันออก(ทิศอาคเนย์) อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศใต้ ว่าดังนี้

      "ทกฺขิณาย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
      แปลว่า "ในทิศใต้ อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ว่าดังนี้.-

      "ทกฺขิณาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
       แปลว่า "ในทิศน้อยแห่งทิศใต้ (ทิศหรดี) อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศตะวันตก ว่าดังนี้.-
      "ปจฺฉิมาย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
      แปลว่า "ในทิศตะวันตก อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ว่าดังนี้.-
      "ปจฺฉิมาย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
      แปลว่า "ในทิศน้อยแห่งทิศตะวันตก(ทิศพายัพ) อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศเหนือ ว่าดังนี้.-
     "อุตฺตราย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
     แปลว่า "ในทิศเหนือ อะไรเป็นนิมิต"

ในทิศตะวันออเฉียงเหนือ ว่าดังนี้.-
     "อุตฺตราย อนุทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
      แปลว่า "ในทิศน้อยแห่งทิศเหนือ (ทิศอีสาน) อะไรเป็นนิมิต"

ทักซ้ำในทิศตะวันออกอีก ว่าดังนี้.-
     "ปุรตฺถิมาย ทิสาย กึ นิมิตฺตํ"
     แปลว่า "ในทิศตะวันออก อะไรเป็นนิมิต"

     ตามอรรถกถานัยนั้น ท่านให้เวียนมาทักซ้ำนิมิตแรกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้บรรจบรอบกัน
ถ้าไม่ทำเช่นนั้น ท่านปรับเอาว่า สีมามีนิมิตขาด ใช้ไม่ได้ ทำแบบมักง่าย ไม่เวียนมาทักซ้ำ
นิมิตแรกอีกครั้งหนึ่ง อาจเป็นที่รังเกียจ เกิดความยุ่งยากได้ เพราะฉะนั้นโปรดใส่ใจด้วย

คำตอบ
๑. ศิลา ว่า.-
     "ปาสาโณ ภนฺเต"
     แปลว่า "หิน เจ้าข้า"

๒. ภูเขา ว่า.-
      "ปพฺพโต ภนฺเต"
      แปลว่า "ภูเขา เจ้าเข้า"

๓. ป่า ว่า.-
     "วนํ ภนฺเต"
     แปลว่า "ป่า เจ้าข้า"

๔. ต้นไม้ ว่า.-
    "รุกฺโข ภนฺเต"
     แปลว่า "ต้นไม้ เจ้าข้า"

๕. จอมปลวก ว่า.-
    "วมฺมิโก ภนฺเต"
    แปลว่า "จอมปลวก เจ้าข้า"

๖. หนทาง ว่า.-
   "มคฺโค ภนฺเต"
    แปลว่า "หนทาง เจ้าข้า"

๗. แม่น้ำ ว่า.-
     "นที ภนฺเต"
     แปลว่า "แม่น้ำ เจ้าข้า"

๘. น้ำ ว่า.-
    "อุทกํ ภนฺเต"
    แปลว่า "น้ำ เจ้าข้า"

คำระบุซ้ำ

๑. ศิลา ว่า.-
     "เอโส ปาสาโณ นิมิตฺตํ "
     แปลว่า "หินนั่น เป็นนิมิต "

๒. ภูเขา ว่า.-

      "เอโส ปพฺพโต นิมิตฺตํ "
      แปลว่า "ภูเขานั่น เป็นนิมิต "

๓. ป่า ว่า.-

     "เอตํ วนํ นิมิตฺตํ "
     แปลว่า "ป่านั่น เป็นนิมิต "

๔. ต้นไม้ ว่
า.-
    "เอโส รุกฺโข นิมิตฺตํ"
     แปลว่า "ต้นไม้นั่น เป็นนิมิต "

๕. จอมปลวก ว่า.-

    "เอโส วมฺมิโก นิมิตฺตํ "
    แปลว่า "จอมปลวกนั่น เป็นนิมิต "

๖. หนทาง ว่า.-
   "เอโส มคฺโค นิมิตฺตํ "
    แปลว่า "หนทางนั่น เป็นนิมิต "

๗. แม่น้ำ ว่า.-
     "เอสา นที นิมิตฺตํ "
     แปลว่า "แม่น้ำนั่น เป็นนิมิต "

๘. น้ำ ว่า.-
    "เอตํ อุทกํ นิมิตฺตํ "
    แปลว่า "น้ำนั่น เป็นนิมิต "


สีมา พัทธสีมา อพัทธสีมา สีมาวิบัติด้วยเหตุ ๓
นิมิต ๘ ชนิด สมานสังวาสสีมา สีมาสังกระ ปุจฉา-วิสัชชนา
วิธีผูกพัทธสีมา แบบกรรมวาจาเนื่องด้วยสีมา คำทักนิมิต  



ที่มา หนังสืออธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นเอก
       ฉบับกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ ๒๕๓๑

 กลับสู่หน้าหลัก