ธชัคคปริตร

ธชัคคปริตร หรือธชัคคสูตร หรือบางตำราเรียกว่า ธชัคคสุตตปาฐะ (บทว่าด้วยธชัคคสูตร)
เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยาย เพื่อป้องกันภัย รวมอยู่ในพระ ปริตร   หรือบทสวดเจ็ดตำนาน
และบทสวดสิบสองตำนาน พระสูตรนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวอุปมาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
และพระสังฆคุณว่า เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอันเลิศ เปรียบดั่งชายธงของ พระอินทร์ ในเรื่องเทวาสุรสงคราม
ยามที่เทวดาทั้งหลายกระทำสงครามกับเหล่าอสูร เมื่อมองไปที่ชายธงของพระอินทร์ ทำให้เกิดความมั่นใจฉันใด
การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ทำให้เกิดความมั่นใจหายกลัวฉันนั้น

ที่มา
พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้ ระหว่างที่ทรงประทับอยู่ ณ   วัดเชตวันมหาวิหาร   อันเป็นอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี  
ตั้งอยู่เขตพระนคร สาวัตถี   ทรงตรัสถึงวิธีการจัดการกับความหวาดกลัว โดยทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลาย
เจริญพุทธานุสสติ นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพทธเจ้ายามที่เกิดความหวาดกลัว เมื่อนึกถึงพระพุทธคุณแล้ว
ความหวาดกลัวจะมลายหายไป  

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก   ทรงให้อรรถาธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า
"คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตรคือพระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง
เทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูรซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่าเมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร
ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดา จึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธง
หรือชายธงของพระองค์หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์
หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ความกลัวก็จะหายไป [พระสูตร]นี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็
คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า
ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นพระสูตรที่สอนให้เจริญพุทธานุสสติเป็นต้น นั้นเอง"  

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ ธชัคคสูตร

ธชัคคสูตร

[ ๘๖๓]  เอวัมเม   สุตัง   ฯ  เอกัง   สะมะยัง   ภะคะวา   สาวัตถิยัง   วิหะระติ   เชตะวะเน   อะนาถะปิณฑิกัสสะ   อาราเม   ฯ  
ตัตระ   โข   ภะคะวา   ภิกขู  อามันเตสิ   ภิกขะโวติ   ฯ   ภะทันเตติ   เต   ภิกขู   ภะคะวะโต   ปัจจัสโสสุง   ฯ   ภะคะวา   เอตะทะโวจะ

ภูตะปุพพัง   ภิกขะเว   เทวาสุระสังคาโม   สะมุปัพะยุฬโห   อะโหสิฯ   อะถะโข   ภิกขะเว   สักโก   เทวานะมินโท  
เทเว  ตาวะติงเส   อามันเตสิ   สะเจ   มาริสา   เทวานัง   สังคามะคะตานัง   อุปปัชเชยยะ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัต
ตัง   วา   โลมะหังโส   วา   มะเมวะ  ตัสะมิง   สะมะเย   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ   มะมัง   หิ   โว   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง  
ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะติ 

โน   เจ   เม   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ   อะถะ ปะชาปะติสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ  
ปะชาปะติสสะ  หิ   โว   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง    ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัต
ตัง   วา   โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะติ 

โน   เจ   ปะชาปะติสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ   อะถะ   วะรุณัสสะ   เทวะราชัสสะ  
ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะ   วะรุณัสสะ   หิ   โว   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา  
ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   โส  ปะหิยยิสสะติ 

โน   เจ   วะรุณัสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลเกยยาถะอะถะ   อีสานัสสะ   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง  
อุลโลเกยยาถะ   อีสานัสสะ หิ    โว    เทวะราชัสสะ    ธะชัคคัง    อุลโลกะยะตัง    ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา  
ฉัมภิตัตตัง    วา   โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะตีติ   ฯ

ตัง   โข   ปะนะ   ภิกขะเว   สักกัสสะ   วา   เทวานะมินทัสสะ   ธะชัคคัง    อุลโลกะยะตัง   ปะชาปะติสสะ   วา  
เทวะราชัสสะ    ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง    วะรุณัสสะ   วา   เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   อีสานัสสะ   วา  
เทวะราชัสสะ   ธะชัคคัง   อุลโลกะยะตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง    วา   โลมะหังโส   วา  
โส   ปะหิยเยถาปิ   โนปิ   ปะหิยเยถะ 

ตัง   กิสสะ   เหตุ   สักโก   หิ   ภิกขะเว   เทวานะมินโท   อะวีตะราโค   อะวีตะโทโส   อะวีตะโมโห   ภิรุฉัมภี   อุตะราสี   ปะลายีติ   ฯ 

[ ๘๖๕] อะหัญจะ   โข   ภิกขะเว   เอวัง   วะทามิ   สะเจ   ตุมหากัง   ภิกขะเว   อะรัญญะคะตานัง   วา   รุกขะมูละคะตานัง   วา  
สุญญาคาระคะตานัง   วา   อุปปัชเชยยะ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส   วา   มะเมวะ   ตัสะมิง  
สะมะเย   อะนุสสะเรยยาถะ   อิติปิ  โส    ภะคะวา    อะระหัง    สัมมาสัมพุทโธ   วิชชาจะระณะ - สัมปันโน   สุคะโต  
โลกะวิทู    อะนุตตะโร    ปุริสะทัมมะสาระถิ   สัตถา เทวะมะนุสสานัง   พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง   หิ   โว ภิกขะเว  
อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส  วา    โส   ปะหิยยิสสะติ  

โน   เจ   มัง   อะนุสสะเรยยาถะ   อะถะ   ธัมมัง   อะนุสสะเรยยาถะ    สวากขาโต    ภะคะวะตา    ธัมโม   สันทิฏฐิโก   
อะกาลิโก   เอหิปัสสิโก   โอปะนะยิโก   ปัจจัตตัง   เวทิตัพโพ   วิญญูหีติ ธัมมัง   หิ   โว   ภิกขะเว    อะนุสสะระตัง   
ยัมภะวิสสะติ    ภะยัง    วา   ฉัมภิตัตตัง   วา   โลมะหังโส    วา   โส   ปะหิยยิสสะติ 

โน   เจ   ธัมมัง   อะนุสสะเรยยาถะ   อะถะ    สังฆัง    อะนุสสะเรยยาถะ   สุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ  
อุชุปะฏิปันโน     ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ   ญายะปะฏิปันโน   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ   สามีจิปะฏิปันโน  
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ   ยะทิทัง   จัตตาริ ปุริสะยุคานิ   อัฏฐะ   ปุริสะปุคคะลา   เอสะ   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ  
อาหุเนยโย     ปาหุเนยโย   อัญชะลีกะระณีโย   อะนุตตะรัง   ปุญญักเขตตัง   โลกัสสาติ   สังฆัง   หิ   โว   ภิกขะเว  
อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ   ภะยัง    วา   ฉัมภิตัตตัง   วา  โลมะหังโส   วา   โส   ปะหิยยิสสะติ 

ตัง   กิสสะ   เหตุ   ตะถาคะโต   หิ   ภิกขะเว   อะระหัง   สัมมาสัมพุทโธ   วีตะราโค วีตะโทโส   วีตะโทโส  
อะภิรุ  อัจฉัมภี   อะนุตราสี   อะปะลายีติ    ฯ 

[ ๘๖๖] อิทะมะโวจะ    ภะคะวา   อิทัง   วัตตะวานะ   สุคะโต   อะถาปะรัง   เอตะทะโวจะ   สัตถา

อะรัญเญ   รุกขะมูเล   วา               สุญญาคาเร   วะ   ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ   สัมพุทธัง                ภะยัง   ตุมหากะ   โน   สิยา
โน   เจ   พุทธัง   สะเรยยาถะ         โลกะเชฏฐัง   นะราสะภัง
อะถะ    ธัมมัง   สะเรยยาถะ            นิยยานิกัง   สุเทสิตัง
โน   เจ   ธัมมัง   สะเรยยาถะ         นิยยานิกัง   สุเทสิตัง
อะถะ   สังฆัง   สะเรยยาถะ            ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง   สะรันตานัง               ธัมมัง   สังฆัญจะ   ภิกขะโว
ภะยัง   วา   ฉัมภิตัตตั                   โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ 

ความหมาย
ธชัคคสูตร

[ ๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

[ ๘๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลายครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่าแน่ะ
ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดา
ผู้ไปในสงครามสมัยนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา

ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป
หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่าน พึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด
เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดี
เทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี
ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้างข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่ ฯ

[ ๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแล กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดีพึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้ไปในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี
ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวก
เธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตนดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดีความ
หวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึง
พระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่าพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็น
ผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร
ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่

สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป

ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ
ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป ฯ


[ ๘๖๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ใน
เรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความกลัวไม่
พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญ
ที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้นเธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม
อันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่
พึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่น
ยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความ
ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ฯ

ธชัคคสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย ) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
หน้าที่ ๒๖๓-๒๖๕ หัวข้อที่ ๘๖๑ - ๘๖๖



พระปริตร
มงคลปริตร รัตนปริตร กรณียปริตร ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร
อังคุลิมาลปริตร วัฏฏกปริตร โมรปริตร