ตำนาน อาฏานาฏิยปริตร  หรือ อาฏานาฏิยสูตร

เนื้อความที่นำมาสวดนั้นมาจากอาฏานาฏิยสูตร ซึ่งมีเนื้อหาว่า ด้วยรักษาในอาฏานาฏานคร
บรรยายถึงเหตุการณ์การณ์เข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 ผู้ปกครองสวรรค์
ชั้น จาตุมหาราชิกา  และผู้ดูแลปกครองยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ และนาค

ที่มา
หากพิจารณาเนื้อหาในอาฏานาฏิยสูตรจะพบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแจ้งให้พระบรมศาสดาพุทธ
และบรรดาสาวกในพระพุทธศาสนา ได้ตระหนักว่า ยังมีเหล่ายักษ์ ที่เป็นมิจฉาทิษฐิ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม
อันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เพื่อเว้นจากฆ่าสัตว์,
ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม, พูดปด, ดิ่มสุราเมรัย พวกยักษ์เหล่านั้นไม่เว้นจากสิ่งเหล่านี้โดยมากจึงไม่ชอบ 

ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 กราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า หากพระสาวกของพระผู้มีพระภาค
เสพเสนาสนะอันสงัดในป่า อาจถูกยักษ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาครบกวน
และทำอันตรายได้ ด้วยเหตุนี้เพื่อคุ้มครองรักษารักษาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4
จึงกราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงเรียนคาถาบทหนึ่ง เพื่อทำยักษ์เหล่านั้นให้เลื่อมใส
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ท้าวเวสสวัณจึงกล่าวการรักษา ชื่อ อาฏานาฏิยา ซึ่งคำว่า “ รักขา”
มีลักษณะเดียวกับ “ ปริตร” คือสวดสำหรับคุ้มครองป้องกันภัย 

ทั้งนี้ พระสูตรดังกล่าวมีขนาดยาวมาก ในหนังสือบทสวดมนต์หลวง ส่วนของ ภาณวาร  หรือจุตภาณวาร
จึงแบ่งเป็น 2 ภาค คือ ปุพพภาค และปัจฉิมภาค ภาคแรกเรียกว่า “ ยกฺขภาควาร” หรือ ภาณยักษ์
ส่วนภาคหลังเรียกว่า “ พุทฺธภาควาร” หรือภาณพระ แต่ด้วยความที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับยักษ์ และอมนุษย์
ผู้คนทั่วไปจึงนิยมเรียกกันว่าการสวด ภาณยักษ์  แต่ในความเป็นจริงแล้วการสวด ภาณยักษ์ เป็นการเรียกโดยสะดวก
เพราะในการสวด ภาณยักษ์ นั้นมีทั้ง ภาณยักษ์  และภาณพระ รวมกันเป็น อาฏานาฏิยสูตร 

นอกจากนี้ ยังมีการตัดตอนอาฏานาฏิยสูตรในส่วนที่เป็น "รักขา" หรือคาถา หรือพระปริตร ที่ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4
ทรงถวายแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์ได้ทรงมีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์เรียนรักขานี้
เพื่อป้องกันภยันตรายจากยักษ์และอมนุษย์ ที่เป็นมิจฉาทิษฐิ ต่อมาพระปริตรนี้นิยมสวดกันอย่างกว้างขวาง
มีรวมอยู่ในจุลราชปริตร หรือ สวด 7 ตำนาน อันหมายถึงการสวดพระปริตร 7 บท และในมหาราชปริตร
หรือสวด 12 ตำนาน อันหมายถึงการสวดพระปริตร 12 บท 


อาฏานาฏิยปริตรตัง

วิปัสสิสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ น๎หาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจาระระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทังฯ

                     ( สวดย่อ จบแค่นี้)
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สัก๎ยะปุงคะโวฯ

เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา
พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ท๎วัตติงสะลักขะณูเปตา สีต๎ยานุพ๎ยัญชะนาธะรา
พ๎ยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะฯ

ปุรัตถิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ปัจฉิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมหา อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต๎วา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต๎วา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เตฯ

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัต๎วันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภาวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ


ความหมาย

ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระจักษุทรงพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง
ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ
ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้
ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
ขอนอบน้อมพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง

อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้วรู้แจ้งตามความเป็นจริง
พระอรหันต์เหล่านั้นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน
ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ไม่สะทกสะท้าน

พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิเหล่าอื่น
ทุกพระองค์เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ
ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริฐ แกล้วกล้าของพระองค์ 

พระพุทธเจ้าเหล่านี้ทรงปราศจากความครั่นคร้ามบันลือสีหนาทในท่ามกลางพุทธบริษัท
ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผุ้ใดจะคัดค้านได้
พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ
ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒ และพระอนุลักษณะ ๘๐

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพระฉัพพรรณรังสีโดยรอบหนึ่งว่า
ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ รู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะ และเป็นผู้ชนะ
ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว ทรงมีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก
มีความกรุณาใหญ่หลวงมั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง

พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มรองหลบภัยของเหล่าสัตว์
ทรงเป็นที่ไป เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ กระทำประโยชน์
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก และเทวดา
ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคลของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า
ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ

ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประทานพระนิพพานจงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ
เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้วขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด
ขอท่านจงปลอดจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง ไม่มีใครๆ ปองร้าย เป็นผู้สงบ
ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้นจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ปราศจากโรค มีความสุข
ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์ ศีล ขันติ และเมตตาธรรม

เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทศบูรพา จงคุ้มครองข้าเพจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
เหล่านาคผู้มีฤทธิ์มากในทิศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุดร จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ท้าวธตรฐเป็นผู้รักษาโลกทิศบูรพา ท้าวิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์
รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร

ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าวจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในอากาศและบนพื้นดิน จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มากอาศัยอยู่ในพระศาสนานี้ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวดจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตราย เป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนยาว
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์

ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
https://th.wikipedia.org/wiki/ การสวดภาณยักษ์
http://www.wattongnai.com/668533/ อาฏานาฏิยปริตรตัง

อาฏานาฏิยสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๔๘ – ๑๕๗ หัวข้อที่ ๒๐๗ - ๒๒๐



พระปริตร
มงคลปริตร รัตนปริตร กรณียปริตร ขันธปริตร ธชัคคปริตร อาฏานาฏิยปริตร
อังคุลิมาลปริตร วัฏฏกปริตร โมรปริตร