การสวดปาฏิโมกข์ วัดธาตุมหาชัย

การสวดปาฏิโมกข์
เหตุจำเป็นที่ต้องเลิกสวดปาฏิโมกข์

การสวดปาฏิโมกข์  เป็นทั้งสังฆกรรมตามพระวินัย  และเป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนา
ควรมีโอกาสได้ร่วมฟัง

ใน วินัยระบุว่า วัดหนึ่งจะต้องมีภิกษุสวดปาฏิมกข์ได้หนึ่งรูป  หากไม่มีเจ้าอาวาสต้องขวนขวายให้มี
หากไม่ขวนขวายเป็นอาบัติ  ถ้าขวนขวายแล้วยังไม่มี พอถึงวันปาฏิโมกข์ต้องไปร่วมฟังในวัดที่มีการสวดปาฏิโมกข์
ถ้าในย่านนั้นไม่มีวัดที่มีภิกษุสวดปาฏิโมกข์ หรือมีภิกษุไม่ครบ ๔ รูป ไม่ต้องสวดปาฏิโมกข์ แต่ให้อธิษฐานอุโบสถแทน
โดยตั้งใจว่า  " วันนี้เป็นวันอุโบสถ"

ใน ระหว่างที่มีการสวดปาฏิโมกข์  ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมสงฆ์ได้ต้องเป็นภิกษุเท่านั้น
ไม่มีเหตุจำเป็นจะหยุดสวดปาฏิโมกข์ในระหว่างไม่ได้   เหตุจำเป็นที่ทำให้ต้องหยุดสวดปาฏิโมกข์มี  ๑๐  อย่าง  คือ

๑.  พระราชาเสด็จมา  ให้เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อจะรับเสด็จได้
๒.  โจรมาปล้น  เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อหนีภัยได้
๓. ไฟไหม้ เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อไปดับไฟได้
๔.  น้ำหลากมา  เลิกสวดปาตฏิโมกข์เพื่อหนีน้ำได้  ถ้าสวดกลาง แจ้ง  เกิดฝนตกในระหว่าง  เลิกได้เหมือนกัน
๕.  คนมามาก  เลิกสวดปาฏิโมกข์  เพื่อไปต้อนรับปฏิสันถาร
๖.  ผีเข้าภิกษุ  เลิกสวดปาฏิโมกข์   เพื่อขับผีออกจากภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเช่น เสือ เป็นต้น  เข้ามาในอาราม เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อไล่สัตว์ได้
๘.  งูร้ายเลื้อยเข้ามาในที่ชุมนุม  ก็เหมือนกัน
๙.  ภิกษุอาพาธด้วยโรคร้ายขึ้นในที่ชุมนุมสงฆ์  อันจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต  เลิกสวดปาฏิโมกข์เพื่อช่วยแก่ไขได้ 
ถ้ามีเหตุอันจะเป็นอันตรายเกิดขึ้นในที่นั้นก็หยุดได้
๑๐.  มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  เช่น มีใครมาเพื่อจับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง    ให้เลิกสวดปาฏิโมกข์  เพราะความสับสนอลหม่าน

จากบทความนี้ อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในความจริงว่า
หากมีเหตุ 10 ประการนี้ให้เลิกสวดปาฏิโมกข์ แต่แท้จริงแล้วเป็นอย่างนี้...

ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ
     สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้
จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
รับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย

     สมัยต่อมา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาวดงได้มาพลุกพล่านในวันอุโบสถ.
ภิกษุทั้งหลายไม่อาจสวดปาติโมกข์โดยพิสดาร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มี
พระภาคทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ.

อันตราย ๑๐ ประการ
     สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ แม้เมื่ออันตรายไม่มี ก็สวดปาติโมกข์ย่อ. ภิกษุทั้งหลายจึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
     เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ.
     อันตรายในเรื่องนั้นเหล่านี้ คือ
     ๑. พระราชาเสด็จมา
     ๒. โจรมาปล้น
     ๓. ไฟไหม้
     ๔. น้ำหลากมา
     ๕. คนมามาก
     ๖. ผีเข้าภิกษุ
     ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา
     ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
     ๙. ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต
     ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตรายเห็นปานนี้ เมื่อไม่มี
อันตราย ให้สวดโดยพิสดาร.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ข้อที่ ๑๖๗ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๓
**** ให้สวดย่อ ไม่ใช่ให้เลิกสวด...

อธิษฐานอุโบสถ
     สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่รูปเดียว จึงภิกษุนั้นได้มีความ
ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป สวดปาติโมกข์  ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิ-

อุโบสถแก่กัน  ให้ภิกษุ ๒ รูป  ทำปาริสุทธิอุโบสถ  ก็เรามีอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงทำอุโบสถ
อย่างไรหนอ.  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว.
ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑป หรือโคนต้นไม้
ก็ตาม  แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้ แล้วนั่งรออยู่.  ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา
พึงทำอุโบสถร่วมกับพวกเธอ ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า  วันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา ถ้าไม่
อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว ๓ รูปสวดปาติโมกข์ไม่ได้  ถ้าขืนสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถไม่ได้  ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้วอีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้  ถ้าขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
ข้อที่ ๑๘๕ หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒

ที่มาจาก....พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/ 4.9.html
http://www.oknation.net/blog/nun2504/2013/03/20/entry-2


สารบัญ บทสวดพระปาฏิโมกข์
บทสวด บุพพกรณ์และบุพพกิจ บทสวด ปาฏิเทสนีย์ ๔
บทสวดนำ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทสวด เสขิยวัตร ๗๕
บทสวด ปาราชิก ๔ บทสวด อธิกรณสมถะ ๗
บทสวด สังฆาทิเสส ๑๓ การนับพระภิกษุ
บทสวด อนิยต ๒ คำขอโอกาสแสดงพระภิกขุปาฏิโมกข์
บทสวด นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ ปฏิทินปาติโมกข์ ปี 2563
บทสวด ปาจิตตีย์ ๙๒ การแบ่งฤดู



การสวดปาฏิโมกข์ย่อ อันตราย ๑๐ อย่าง อุเทศ การยกขึ้นแสดง ๕ ข้อควรรู้เกี่ยวกับพระภิกขุปาฏิโมกข์
อุโบสถขันธกะ อุโบสถ คำขอโอกาสแสดงปาฏิโมกข์ คำขอโอกาสตั้งญัตติปวารณา
ปวารณา โอวาทปาฏิโมกขคาถา โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ บทสวด ตายนคาถา
บทสวด สัจจะกิริยาคาถา บทสวด สีลุทเทสปาฐะ