พิธีบรรพชาอุปสมบท แบบอุกาสะ

วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบอุกาสะ

กุลบุตรผู้มีศรัทธามุ่งบรรพชา อุปสมบท พึงรับผ้าไตรอุ้มประนมมือเข้าไปในสังฆสันนิบาต
วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการถวายพระ, อุปัชฌายะ แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชา หยุดตามจุดจุลภาค ว่า

อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต,

( นั่งลงคุกเข้าประนมมือว่า)

อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ,
สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง
กาสาวัง คะเหตวา, ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ

( ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ มา ว่า ๓ หน พระอุปัชฌายะรับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)

สัพพะทุกขะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง
กาสาวัง ทัตวา, ปัพพาะเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
( ตั้งแต่ สัพพะทุกขะ มา ว่า ๓ หน )

ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะกัมมัฏฐาน ให้ว่าตามไปทีละบท
โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้

เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ( อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา ( ปฏิโลม)

พระอุปัชฌายะชักอังสะออกจากไตรสวมให้แล้ว สั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ
ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบลง ๓ หน ยืนประนมมือเปล่งวาจา
ขอสรณะและศีลดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ,
อุกาสะ การุญญัง กัตวา, ติสะระเณนะ สะหะ, สีลานิ เทถะเม ภันเต,
( นั่งลงคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)

อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
ทุติปยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ,

ลำดับนั้น พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำให้ผู้มุ่งบรรพชาว่าตามไปดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ ( ว่า ๓ หน)

แต่นั้นท่านจะสั่งด้วยคำว่า
เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ พึงรับว่า อามะ ภันเต

ครั้นแล้วท่านนำให้เปล่งวาจาว่าสรณคมน์ พึงว่าตามไปทีละพากย์ดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง
สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง
สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

เมื่อจบแล้ว ท่านบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับว่าอามะ ภันเต

ลำดับนั้นพระอาจาราย์จะบอกให้รู้ว่า การบรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้
ต่อแต่นั้นพึงสมาทานสิกขาบท ๑๐ประการ ว่าตามท่านไปดังนี้

๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๒. อะทินนาทานา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๓. อะพรัหมะจะริยา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๔. มุสาวาทา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๖. วิกาละโภชะนา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๘. มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานาเวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ

๙. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา
เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

๑๐. ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา
เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ

อิมานิ
ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
ข้อ อิมานิ นี้ว่า ๓ จบ แล้วกราบลง ๑ หน ยืนขึ้นว่า

วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, มะยา
กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง,
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่ากราบ ๓ หน)

ในลำดับนั้น สามเณรพึงรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัว
ซ้ายรับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบลง ๓ หน ยืนปะนมมือกล่าวคำขอนิสัย ว่าดังนี้

อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง
มัยหัง, ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทานิ ฯ,
อุกาสะ การุญญัง กัตวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต,
( นั่งคุกเข่า)

อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ,
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ วรรคนี้ว่า ๓ หน เมื่อพระ

อุปัชฌาย์ว่า โอปายิกัง, ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ,
แล้วสามเณรพึงกล่าวรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ในระหว่าง ๆ ๓ หน แล้วว่าต่อ

อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร

วรรคนี้ว่า ๓ หน แล้วกราบลง ๑ หน ยืนขึ้นว่าต่อ

วันทามิ
ภันเต, สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
มะยากะตัง
ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ ฯ, คุกเข่ากราบ ๓ หน

ตั้งแต่ อุปัชฌาโย ฯลฯ เถรัสสะ ภาโร ๓ วรรค นี้
พระอุปัชฌายะบางองค์ให้ว่ารวดเดียวตามแบบนั้นก็มี ให้ว่าเป็นตอน ๆ ดังนี้คือ

เมื่อสามเณรว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ๓ หน
แล้วพระอุปัชฌายะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ,

บทใดบทหนึ่งพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ
ทุกบทไปแล้วสามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านว่า อัชชะตัคเคทานิ ฯลฯ ภาโร ๓ หน ฯ ก็มี

ลำดับนั้น พระอุปัชฌายะหรือพระกรรมวาจาจารย์เอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้
มุ่งอุปสมบทแล้วบอกบาตรและจีวร ผู้มุ้งอุปสมบทพึงรับว่า อามะ ภันเต, ๔ หน ดังนี้

ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ อุปัชฌัง คาหาเปตวา ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพัง

คำบอกบาตรจีวร คำรับ
อะยันเต ปัตโต อามะ ภันเต //
อะยัง สังฆาฏิ อามะ ภันเต //
อะยัง อุตตะราสังโค อามะ ภันเต //
อะยัง อันตะระวาสะโก อามะ ภันเต //

ต่อจากนั้น พระอาจารย์ท่านบอกให้ออกไปข้างนอก
ว่า คัจฉะอะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ

พึงถอยออกลุกขึ้นเดินไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้
พระอาจารย์ท่านสวดสมมติตนเป็นผู้สอนซ้อม แล้วออกไปสวดถามอันตรายิกธรรม
พึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน ดังนี้

ถาม ตอบ
กุฏฐัง นัตถิ ภันเต //
คัณโฑ นัตถิ ภันเต //
กิลาโส นัตถิ ภันเต //
โสโส นัตถิ ภันเต //
อะปะมาโร นัตถิ ภันเต //
มนุสโสสิ๊ อามะ ภันเต//
ปุริโสสิ๊ อามะ ภันเต//
ภุชิสโสสิ๊ อามะ ภันเต//
อะนะโณสิ๊ อามะ ภันเต//
นะสิ๊ ราชะภะโฏ อามะ ภันเต//
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ อามะ ภันเต//
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ อามะ ภันเต//
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต//
กินนะโมสิ อะหัง ภันเต ..........................นามะ//
โก นามะ เต อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต/ อายัสมา.........................นามะ//

ช่องที่.............. ไว้ พระอุปัชฌายะ หรืออาจารย์ท่านจะตั้งชื่อของ

อุปสัมปทาเปกขะกรอบลงช้องให้ไว้ก่อนวันบวช
และช่องที่ ........ ไว้ในช่องชื่อของพระอุปัชฌายะก็เช่นเดียวกัน ให้

กรอกตามชื่อของพระอุปัชฌายะ ซึ่งท่านจะบอกและกรอกให้ไว้ก่อนวันบวช

ครั้นสวดสอนซ้อมแล้ว ท่านกลับเข้ามาสวดขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา
อุปสัมปทาเปกขะ พึงเข้ามาในสังฆสันนิบาต กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌะ ๓ หน
แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือ เปล่งวาจาขออุปสมบทว่าดังนี้

สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต,

สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

ทุติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ

มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

ตะติยัมปิ ภันเต, สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ

มัง ภันเต, สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ,

ในลำดับนั้น พระอุปัชฌายะกล่าวเผดียงสงฆ์แล้ว พระอาจารย์สวดสมมติตน
ถามอันตรายิกธรรม อุปสัมปทาเปกขะพึงรับว่า นัตถิ ภันเต ๕ หน อามะ ภันเต ๘ หน
บอกชื่อตนและชื่อพระอุปัชฌายะรวม ๒ หน เหมือนที่กล่าวแล้วในหนหลัง ฯ

แต่นั้นพึงนั่งฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ ครั้นจบแล้วท่านเอาบาตรออกจากตัว
แล้วพึงกราบลง ๓ หน แต่นั้นพึงนั่งพับเพียบประนมมือฟังพระอุปัชฌายะบอกอนุศาสน์ไปจนจบ
แล้วรับว่า อามะ ภันเต เป็นเสร็จพิธีอุปสมบท แล้วกราบพระอุปัชฌายะ ๓ หน

ถ้ามีไทยทายถวายก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เสร็จแล้วคอยฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไป
เมื่อพระอนุโมทนา พึง กรวดน้ำตั้งใจอุทิศบุญกุศลส่วนนี้ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณ เมื่อพระว่า ยะถา จบ
ก็เทน้ำโกรกลงให้หมด ต่อนั้นประนมมือฟังอนุโมทนาไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี.

จบพิธีอุปสมบทแบบอุกาสะ


การบรรพชาอุปสมบทแบบเอสาหัง
คำขอบรรพชาอุปสมบท
คำกล่าวขอไตรสรณคมน์และศีล
คำขอนิสัย การให้นิสัย
คำบอกสมณบริขาร
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อม-คำสอนซ้อม อุปสัมปทาเปกข์
คำขออุปสมบท- การอปโลกน์เผดียงสงฆ์
คำสวดถามอันตรายิกธรรม
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
คำบอกอนุศาสน์


คำทินทุผ้า คำอธิษฐาน คำเสียสละผ้า คำคืนผ้า เนื้อต้องห้าม
คำขอขมา คำวิกัปป์ผ้า คำอนุโมทนากฐิน คำลาสิกขา คำแสดงตนเป็นอุบาสก
อนุโมทนาวิธี วิธีแสดงอาบัติ คำสัตตาหะ คำสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ บทสวดสติปัฏฐาน๔
อนุโมทนาวิธี แปล บทขัดสิกขาสามเณร เจริญพระพุทธมนต์ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทพิจารณาสังขาร
ถวายพรพระ ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ บทสวดพุทธมนต์ คำสมาทานพระกรรมฐาน ปฏิทินวันพระ
กรวดน้ำตอนเย็น อะตีตะปัจจะเวกขะณะ พระสังคีณี คำปวารณาออกพรรษา หลวงปู่คำพันธ์
เสียงอ่านธรรมะ

 

 กลับสู่หน้าหลัก