พิธีบรรพชาอุปสมบทแบบใหม่

การบอกอนุศาสน์
เมื่อพระกรรมวาจาจารย์ สวดญัติจตุตถกรรมวาจาถึงคำว่า “เอวะเมตัง
ธาระยามิ” แล้ว เป็นอันจบญัตติจตุตถกรรมวาจาในการทำอุปสมบทกรรมแล้ว พระภิกษุใหม่
นั้น พึงนำบาตรออกจากตัววางไว้ข้างซ้ายมือ นั่งพับเพียบประณมมือ ตั้งใจคอยรับฟังการบอก
อนุศาสน์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกเอง หรือจะมอบให้พระกรรมวาจาจารย์ หรือพระอนุสาวนาจารย์
บอกแทนก็ได้ ตามความเหมาะสมต่อไป

ก่อนแต่จะบอกอนุศาสน์เป็นภาษาบาลีนั้น พระอุปัชฌาย์ หรือ พระกรรมวาจาจารย์
หรือ พระอนุสาวนาจารย์ ผู้ได้รับการมอบหมายให้บอกอนุศาสน์แทน พึงกล่าวสรูปสอนโดยย่อดังนี้

“สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่า เมื่อเสร็จกิจอุปสมบทแล้ว ให้บอก
อนุศาสน์สอนนวกภิกษุ อนุศาสน์มี ๘ ประการ แบ่งเป็นนิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ เครื่องอาศัย
ของบรรพชิต เรียกว่า นิสัยฯ ก็แล นิสัย ๔ นั้น คือ เที่ยวบิณฑบาต นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
อยู่โคนไม้ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า รวม ๔ นี้ เป็นเครื่องอาศัย ของบรรพชิตฯ
สิ่งที่บรรพชิตทำไม่ได้ เรียกว่า อกรณียกิจ ฯ ก็แล อกรณียกิจ ๔ นั้น คือ เสพเมถุน
ลักทรัพย์ ฆ่าสัตว์ อวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน รวม ๔ นี้ บรรพชิตทำไม่ได้ ต่อไปนี้จักสอน
ด้วยภาษาพระบาลี ซึ่งมีความสังเขปดังอธิบายมาแล้วนั้นฯ

คำบอกอนุศาสน์

อะนุญญาสิ โข ภะคะวา อุปะสัมปาเทตวา จัตตาโร นิสสะเย จัตตาริ จะ อะกะระณียานิ อาจิกขิตุง//

(๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ เต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน เต เป็น โว) ยาวะซีวัง
อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ สังฆะภัตตัง อุเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลกะภัตตัง
ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง//

(๒) ปังสุกูละจีวะรัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ เต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน เต เป็น โว) ยาวะชีวัง
อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง//

(๓) รุกขะมูละเสนาสะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ เต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน เต เป็น โว)
ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ วิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา//

(๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา// ตัตถะ เต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน เต เป็น โว) ยาวะชีวัง
อุสสาโห กะระณีโย// อะติเรกะลาโภ/ สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตัง//

(๕) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุนโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ/ อันตะมะโส
ติรัจฉานะคะตายะปิ// โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ/ อัสสะมะโณ โหติ
อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธเนนะ
ชีวิตุง// เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตวา/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย//
ตันเต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน ตันเต เป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

(๖) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง/ อันตะมะโส
ติณะสะลากัง อุปาทายะ// โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา
อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ นามะ
ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หะริตัตตายะ// เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา
ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยตวา/ อัสสะมะโณ โหติ
อะสักยะปุตติโย// ตันเต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน ตันเต เป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

(๗) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ/ อันตะมะโส
กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะ// โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ/
อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ// อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ
นามะ ปุถุสิลา ทวิธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ// เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ
มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย//
ตันเต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน ตันเต เป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียัง//

(๘)อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ/ อันตะมะโส
สุญญาคาเร อะภิระมามีติ// โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง
อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ/ ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง
วา มัคคัง วา ผะลัง วา// อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย// เสยยะถาปิ นามะ ตาโล
มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา// เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต
อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตวา/ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย
ตันเต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน ตันเต เป็น ตัง โว) ยาวะชีวัง อะกะระณียันติ//

อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา
สัมมาสัมพุทเธนะ// สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา//
ยาวะเทวะ ตัสสะ มะทะนิมมะทะนัสสะ ปิปาสะวินะยัสสะ อาละยะสะมุคฆาตัสสะ
วัฏฏูปัจเฉทัสสะ// ตัณหักขะยัสสะ วิราคัสสะ นิโรธัสสะ นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ//

ตัตถะ สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส//
สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา//
ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจะติ// เสยยะถีทัง/
กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา//

ตัสมาติหะ เต ( ถ้าหลายรูปเปลี่ยน เต เป็น โว ) อิมัสมิง ตะถาคะตัปปะเวทิเต
ธัมมะวินะเย/ สักกัจจัง อะธิสีละสิกขา สิกขิตัพพา/ อะธิจิตตะสิกขา สิกขิตัพพา/
อะธิปัญญาสิกขา สิกขิตัพพา/ ตัตถะ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทตัพพัง//

พระภิกษุใหม่ พึงกล่าวรับคำว่า “อาม ภันเต” แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่า ประณมมือ
กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง

พิธีการให้บรรพชาอุปสมบทแบบใหม่ จบบริบูรณ์


การบรรพชาอุปสมบท
คำขอบรรพชาอุปสมบท
คำกล่าวขอไตรสรณคมน์และศีล
คำขอนิสัย การให้นิสัย
คำบอกสมณบริขาร
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อม-คำสอนซ้อม อุปสัมปทาเปกข์
คำขออุปสมบท- การอปโลกน์เผดียงสงฆ์
คำสวดถามอันตรายิกธรรม
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
คำบอกอนุศาสน์



คำทินทุผ้า คำอธิษฐาน คำเสียสละผ้า คำคืนผ้า เนื้อต้องห้าม
คำขอขมา คำวิกัปป์ผ้า คำอนุโมทนากฐิน คำลาสิกขา คำแสดงตนเป็นอุบาสก
อนุโมทนาวิธี วิธีแสดงอาบัติ คำสัตตาหะ คำสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ บทสวดสติปัฏฐาน๔
อนุโมทนาวิธี แปล บทขัดสิกขาสามเณร เจริญพระพุทธมนต์ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทพิจารณาสังขาร
ถวายพรพระ ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ บทสวดพุทธมนต์ คำสมาทานพระกรรมฐาน ปฏิทินวันพระ
กรวดน้ำตอนเย็น อะตีตะปัจจะเวกขะณะ พระสังคีณี คำปวารณาออกพรรษา หลวงปู่คำพันธ์
 กลับสู่หน้าหลัก