บทอนุโมทนาวิธี แปล

อนุโมทนารัมภคา แปล


ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
-ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด
เอวะเมวะ อิโต
ทินนัง เปตานังอุปะกัปปะติ
-ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ , ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น
อิจฉิตัง
ปัตถิตัง ตุมหัง -ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้ว
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ -จงสำเร็จโดยฉับพลัน
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา -ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่
จันโท ปัณณะระโส ยะถา
-เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
มะณิ โชติระโส ยะถา -เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ

สามัญญานุโมทนาคาถา แปล

สัพพีติโย วิวัชชันตุ -ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป
สัพพะโรโค
วินัสสะตุ -โรคทั้งปวง ( ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย
-อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี
ทีฆายุโก ภะวะ -ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน
สัพพีติโย วิวัชชันตุ -ความจัญไรทั้งปวง จะบำราศไป
สัพพะโรโค
วินัสสะตุ -โรคทั้งปวง ( ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย
-อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ -ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน
สัพพีติโย วิวัชชันตุ -ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป
สัพพะโรโค วินัสสะตุ
-โรคทั้งปวง ( ของท่าน) จงหาย
มา เต ภะวัตวันตะราโย
-อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
สุขี
ทีฆายุโก ภะวะ -ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมา
วัฑฒันติ , อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง -ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ,
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปรกติไหว้กราบ, มีปรกติอ่อนน้อม ( ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ ฯ

มงคลจักรวาลน้อย แปล

สัพพะพุทธานุภาเวนะ -ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สัพพะธัมมานุภาเวนะ -ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สัพพะสังฆานุภาเวนะ
-ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง ติณณัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ
-ด้วยอานุภาพแห่งระตะนะสาม คือ พุทธรตนะ ธรรมรตนะ สังฆรตนะ
จะตุรสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ
-ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พัน
ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ -ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฎก
ชินะสาวะกานุภาเวนะ -ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า
สัพเพ เต โรคา -สรรพโรคทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต ภะยา
-สรรพภัยทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต อันตะรายา
-สรรพอันตรายทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต อุปัททะวา
-สรรพอุปัทวะทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต ทุนนิมิตตา
-สรรพนิมิตร้ายทั้งหลายของท่าน
สัพเพ
เต อะวะมังคะลา -สรรพอวมงคลทั้งหลายของท่าน
วินัสสันตุ
-จงพินาศไป
อายุวัฑฒะโก
-ความเจริญอายุ
ธะนะวัฑฒะโก -ความเจริญทรัพย์
สิริวัฑฒะโก
-ความเจริญศิริ
ยะสะวัฑฒะโก
-ความเจริญยศ
พะละ วัฑฒะโก -ความเจริญกำลัง
วัณณะวัฑฒะโก
-ความเจริฐวรรณะ
สุขะวัฑฒะโก -ความเจริญสุข
โหตุ สัพพะทา
-จงมี ( แก่ท่าน) ในกาลทั้งปวง
ทุกขะโรคะภะยา
เวรา -ทุกข์โรคภัย แลเวรทั้งหลาย
โสกา
สัตตุจุปัททะวา -ความโศกศัตรูแลอุปัทวะทั้งหลาย
อะเนกา อันตะรายาปิ
-ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก
วินัสสันตุ จะ เตชะสา
-จงพินาศไปด้วยเดช
ชะยะสิทธิ
ธะนัง ลาภัง -ความชำนะความสำเร็จทรัพย์ลาภ
โสตถิ ภาคยังสุขัง พะลัง
-ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง
สิริ อายุ จะวัณโณ จะ
-ศิริอายุและวรรณะ
โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา -โภคะความเจริญแลความเป็นผู้มียศ
สะตะวัสสา จะ อายู จะ -แลอายุยืนร้อยปี
ชีวะสิทธีภะวันตุ เต -แลความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่จงมีแก่ท่าน ฯ

กาละทานะสุตตะคาถา แปล

กาเล ทะทันติ สะปัญญา วะทัญญู วีตะมัจฉะรา, กาลนะทินนัง
อะริเยสุ อุชุภูเตสุ ตาทิสุ วิปปะสันนะมะนา, ตัสสะ วิปุลา โหติ ทักขิณา

-ทายกทั้งหลายเหล่าใด, เป็นผู้มีปัญญามีปรกติรู้จักคำพูด ปราศจากตระหนี่,
มีใจเลื่อมใสแล้วในพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้ตรงคงที่, บริจาคทาน
ทำให้เป็นของที่ตนถวายโดยกาลนิยมในกาลสมัย, ทักษิณาของทายกนั้นเป็นคุณสมบัติ มีผลไพบูลย์

เย ตัตถะ อะนุโมทันติ เวยยาวัจจัง กะโรนติ วา

-ชนทั้งหลายเหล่าใดอนุโมทนา หรือช่วยกระทำการขวนขวายในทานนั้น
นะ เตนะ ทักขิณา โอนา
-ทักษิณาทานของเขามิได้บกพร่องไป ด้วยเหตุนั้น
เตปิ ปุญญัสสะ ภาคิโน
-ชนทั้งหลายแม้เหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญนั้นด้วย

ตัสมา ทะเท อัปปะฏิวานะจิตโต ยัตถะ ทินนัง มะหัปผะลัง
-เหตุนั้น ทายกควรเป็นผู้มีจิตไม่ท้อถอย, ให้ในที่ใดมีผลมากควรให้ในที่นั้น
ปุญญานิ ปะระโลกัสมิง ปะติฏฐา โหนติ ปาณินันติ
-บุญย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า ฉะนี้

ติโรกุฑฑะกัณฑะปัจฉิมภาค แปล

อะทาสิ เม อะกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะ เม

-บุคคลมาระลึกอุปการะอันท่านได้ทำแก่ตนในกาลก่อนว่า, ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา
ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา ผู้นี้เป็นญาติ เป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา ดังนี้
เปตานัง
ทักขิณัง ทัชชา ปุพเพ กะตะมะนุสสะรัง
-ก็ควรให้ทักษิณาทาน เพื่อผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว
นะ หิ รุณณัง วา โสโก วา ยาวัญญา ปะริเทวะนา
-การร้องไห้ก็ดี การเศร้าโศกก็ดี หรือการร่ำไรรำพันอย่างอื่นก็ดี,
บุคคลไม่ควรทำทีเดียว
นะตัง เปตานะมัตถายะ

-เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้น, ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไปแล้ว
เอวัง ติฏฐันติ ญาตะโย
-ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น
อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา
-ก็ทักษิณานุปทานนี้แล อันท่านให้แล้ว
สังฆัมหิ
สุปะติฏฐิตา ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์
ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ

-ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ละโลกนี้ไปแล้วนั้น, ตลอดกาลนาน ตามฐานะ
โส ญาติธัมโม
จะ อะยัง นิทัสสิโต
-ญาติธรรมนี้นั้น ท่านได้แสดงให้ปรากฏแล้ว
เปตานะ
ปูชา จะ กะตา อุฬารา
-แลบูชาอันยิ่ง ท่านก็ได้ทำแล้ว แก่ญาติทั้งหลายผู้ละโลกนี้ไปแล้ว
พะลัญจะ ภิกขูนะมะนุปปะทินนัง
-กำลังแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าท่านได้เพิ่มให้แล้วด้วย
ตุมเหหิ ปุญญัง ปะสุตัง อะนัปปะกันติ
-บุญไม่น้อย ท่านได้ขวนขวายแล้ว ดังนี้แล.

อัคคัปปะสาทะสุตตะคาถา แปล

อัคคะโต
เว ปะสันนานัง อัคคัง ธัมมัง วิชานะตัง
-เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ
อัคเค พุทเธ
ปะสันนานัง -เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ทักขิเณยเย
อะนุตตะเร -ซึ่งเป็นทักษิไณยบุคคลอันเยี่ยมยอด
อัคเค ธัมเม ปะสันนานัง
-เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ
วิราคูปะสะเม สุเข
- ซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะแลสงบรำงับเป็นสุข
อัคเค สังเฆ ปะสันนานัง
-เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ปุญญักเขตเต อะนุตตะเร
-ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด
อัคคัสมิง
ทานัง ทะทะตัง -ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น
อัคคัง ปุญญัง ปะวัฑฒะติ
-บุญที่เลิศก็ย่อมเจริญ
อัคคัง อายุ จะ วัณโณ จะ -อายุ วรรณะ ที่เลิศ
ยะโส กิตติ สุขัง พะลัง -แลยศเกียรติคุณ สุขะ พละ ที่เลิศย่อมเจริญ
อัคคัสสะ ทาตา เมธาวีอัคคะธัมมะสะมาหิโต
-ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว, ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ
เทวะภูโต มะนุสโส วา
-จะไปเกิดเป็นเทพดาหรือไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ตาม
อัคคัปปัตโต ปะโมทะตีติ

-ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ ดังนี้แล

โภชนทานานุโมทนาคาถา แปล

อายุโท พะละโท ธีโร -ผู้มีปัญญา ให้อายุ ให้กำลัง
วัณณะโท ปะฏิภาณะโท -ให้วรรณะ ให้ปฏิภาณ
สุขัสสะ ทาตา เมธาวี
-ผู้มีปัญญาให้ความสุข
สุขัง โส อะธิคัจฉะติ
-ย่อมได้ประสพสุข
อายุง ทัตวา พะลัง วัณณัง สุขัญจะ ปะฏิภาณะโท
-บุคคลผู้ให้อายุ พละ วรรณะ สุขะแลปฏิภาณ
ทีฆายุ ยะสะวา โหติ ยัตถะ ยัตถูปะปัชชะตีติ
-บังเกิดในที่ใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ ดังนี้

เทวะตาทิสสะทักขิณานุโมทนาคาถา แปล

ยัสมิง ปะเทเส กัปเปติ วาสัง ปัณฑิตะชาติโย
-บัณฑิตชาติสำเร็จการอยู่ในประเทศสถานที่ใด
สีละวันเตตถะ โภเชตวา สัญญะเตพรัหมะจาริโน

-พึงเชิญเหล่าท่านที่มีศีลสำรวมระวังประพฤติพรจรรย์เลี้ยงดูกันในที่นั้น
ยา ตัตถะ เทวะตา อาสุง
-เทพดาเหล่าใด มีในที่นั้น
ตาสัง
ทักขิณะมาทิเส -ควรอุทิศทักษิณาทานเพื่อเทพดาเหล่านั้นด้วย
ตา ปูชิตา
ปูชะยันติ -เทพดาที่ได้บูชาแล้ว ท่านย่อมบูชาบ้าง
มานิตา มานะยันติ นัง
-ที่ได้นับถือแล้ว ย่อมนับถือบ้าง
ตะโต นัง อะนุกัมปันติ
-แต่นั้น ท่านย่อมอนุเคราะห์เขา
มาตา ปุตตังวะ โอระสัง
-ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตรอันเป็นโอรส
เทวะตานุกัมปิโต โปโส -บุรุษได้อาศัยเทพดาอนุเคระห์แล้ว
สะทา ภัทรานิ ปัสสะติ -ย่อมเป็นกิจการอันเจริญทุกเมื่อ.

เทวะตาภิสัมมันตนคาถา แปล

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
-หมู่ภูตเหล่าใดเป็นภุมเทวดาก็ดี , เหล่าใดสถิตแล้วในอากาศก็ดี, ซึ่งมาประชุม กันแล้วในที่นี้
สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
-ขอหมู่ภูตเหล่านั้นทั้งหมดเทียวจงเป็นผู้ มีจิตโสมนัส
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง

-อนึ่ง จงฟังภาษิตโดยเคารพ
สุภาสิตัง กิญจิปิ โว ภะเณมุ

-เราจะกล่าวสุภาษิตแม้บางประการแก่ท่านทั้งหลาย
ปุญเญ สะตุปปาทะกะรัง อะปาปัง
- ไม่เป็นบาป เป็นเครื่องทำความเตือนสติในบุญ
ธัมมูปะเทสัง อะนุการะกานัง
-เป็นอุบายเครื่องแนะนำอันชอบธรรมของบุคคลผู้กระทำตามทั้งหลาย
ตัสมาหิ ภูตานิ สะเมนตุ สัพเพ

-เพราะเหตุนั้นแลหมู่แลหมู่ภูตทั้งปวงจงฟังเถิด
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
-ท่านทั้งหลายจงกระทำไมตรีจิตในหมู่สัตว์มนุษยชาติ
ภูเตสุ พาฬหัง กะตะภัตติกายะ

ผู้มีภักดีอันทำแล้วมั่นในหมู่ภูต
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
-มนุษย์ทั้งหลายเหล่าใด ย่อมนำกระทำพลีกรรม ในกลางวันหรือกลางคืน
ปัจโจปะการัง
อะภิกังขะมานา
-มุ่งหวังอยู่ซึ่งความอุดหนุนตอบแทน
เต โข มะนุสสา ตะนุกานุภาวา
-มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล เป็นผู้มีอานุภาพน้อย
ภูตา วิเสเสนะ มะหิทธิกา จะ

-ส่วนภูตทั้งหลายเป็นผู้มีฤทธิ์มากโดยแปลกกัน
อะทิสสะมานา
มะนุเชหิ ญาตา
-เป็นพวกอทิสสมานกาย ที่มนุษย์ทั้งหลายรู้จัก
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา
-เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้นเถิด.

อาทิยะสุตตะคาถา แปล

ภุตตา โภคา ภะตา ภัจจา
-โภคะทั้งหลายเราได้บริโภคแล้วบุคคลทั้งหลายที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว
วิติณณา อาปะทาสุ เม

-อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นไปแล้ว
อุทธัคคา ทักขิณา ทินนา

-ทักษิณาที่เจริญผล เราได้ให้แล้ว
อะโถ ปัญจะ พะลี กะตา

-อนึ่งพลีห้าเราได้ทำแล้ว
อุปัฏฐิตา สีละวันโต สัญญะตา พรัหมะจาริโน
-ท่านผู้มีศีลสำรวมแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว
ยะทัตถัง โภคะมิจเฉยยะ ปัณฑิโตฆะระมาวะสัง
-บัณฑิตผู้ครองเรือน ปรารถนาโภคะเพื่อประโยชน์อันใด
โส เม อัตโถ อะนุปปัตโต
-ประโยชน์นั้น เราได้บรรลุแล้ว
กะตัง อะนะนุตาปิยัง

-กรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนภายหลัง เราได้ทำแล้ว
เอตัง อะนุสสะรัง มัจโจ อะริยะธัมเม ฐิโต นะโร
-นรชนผู้จะต้องตายเมื่อตามระลึกถึงคุณข้อนี้อยู่ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม
อิเธวะ
นัง ปะสังสันติ
-เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้น ในโลกนี้
เปจจะสัคเค ปะโมทะตีติ
-นรชนนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสรรค์ดังนี้

วิหาระทานะคาถา แปล

สีตัง อุณหัง ปะฏิหันติ เสนาสนะย่อมป้องกันเย็นแลร้อน
ตะโต วาฬะมิคามิ จะ แลสัตว์ร้าย
สิริงสะเป จะมะกะเส งู ยุง
สิสิเรจาปิ
วุฏฐิโย ฝนที่ตั้งขึ้นในสิสิระฤดู
ตะโต วาตาตะโป โฆโร
ลมแลแดดอันกล้า
สัญชาโต
ปะฏิหัญญะติ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมบันเทาไป

เลณัตถัญจะ สุขัตถัญจะ ฌายิตุง จะ วิปัสสิตุง วิหาระทานัง
สังฆัสสะอัคคัง พุทเธหิ วัณณิตัง

-การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุขเพื่อเพ่งพิจารณา แลเพื่อเห็นแจ้ง
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นทานเลิศ

ตัสมา หิ ปัณฑิโต โปโส -เพราะเหตุนั้นแลบุรุษบัณฑิต
สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน
-เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน
วิหาเร
การะเย รัมเม -พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์
วาสะเยตถะ พะหุสสุเต
-ให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตรอยู่เถิด
เตสัง
อันนัญจะ ปานัญจะ วัตถะเสนาสะนานิ จะ ทะเทยยะ
อุชุภูเตสุ วิปปะสันเนนะ เจตะสา
-อนึ่ง พึงถวายข้าวน้ำผ้าเสนาสนะแก่ ท่านเหล่านั้น ด้วยน้ำใจอันเลื่อมใสในท่านผู้ซื่อตรง

เต ตัสสะ ธัมมัง เทเสติ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง ยัง
โส ธัมมะมิธัญญายะ ปะรินิพพาตยะนาสะโวติ.

-เขารู้ธรรมอันใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน
ท่านย่อมแสดงธรรมนั้นอันเป็นเครื่องบันเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขาดังนี้.

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง
-ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุสัพพะเทวะตา -ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ
-ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต
-ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง -ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา -ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ
-ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี
ภะวันตุ เต -ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ภะวะตุ สัพพะ มังคะลัง -ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะ
เทวะ ตา -ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะ สังฆานุภาเวนะ
-ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี
ภะวันตุ เต -ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ,

อนุโมทนาวิธี ภาษาบาลี



บทจุลลไชยปกรณ์ ตำนานพระปริตร บทสวดปฏิจจสมุปบาท บทสวดสติปัฏฐาน๔ ประวัติพุทธสาวก
คำลากลับบ้าน บทปัพพโตปมคาถา บทเขมาเขมสรณทีปกคาถา คำสมาทนากรรมฐาน บทภารสุตตคาถา
บทปัจฉิมพุทโธวาท ติลักขณาทิคาถา บทสวดถวายพระพร โอวาทก่อนปรินิพพาน หลวงปู่คำพันธ์
ปฏิทินวันพระ มงคลปริตร คำปวารณาออกพรรษา คำอาราธนาธรรม เสียงพระพุทธประวัติ
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ วันออกพรรษา คำไหว้พระเจ้า ๑๐ ชาติ พระสังคีณี คาถากำลังวัน
คาถาบารมี ๓๐ ทัศ พระเจ้าพิมพิสาร ประวัติพระธาตุพนม รัตนปริตร ศิลปะพระธาตุพนม
บทพิจารณาสังขาร        
 กลับสู่หน้าหลัก