พิธีบรรพชาอุปสมบทแบบใหม่

การบวชเป็นพระภิกษุ

ภิกษุ
แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร เมื่อเป็นพระภิกษุแล้ว ต้องถือศีล ๒๒๗
และต้องรักษาข้อวัตรปฏิบัติอื่น ๆ อีกมาก

การบวชเป็นสามเณรเป็นเบื้องต้นของการบวชเป็นพระภิกษุ กล่าว
คือจะบวชเป็นพระภิกษุได้ก็ต้องบวชเป็นสามเณรก่อน เพราะฉะนั้นกุลบุตร
ผู้จะบวชเป็นพระภิกษุ จึงจำต้องบวชเป็นสามเณรก่อน ซึ่งมีวิธีการดังที่
กล่าวมาแล้ว แม้ผู้เป็นสามเณร ก็จำต้องขอไตรสรณคมน์และศีลใหม่ เพื่อทำ
ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงดำเนินการบวชเป็นพระภิกษุได้ต่อไป แต่ทางที่ดีที่สุด
ควรของบรรพชาแต่เบื้องต้นไปใหม่ เพราะเมื่อตอนขอบรรพชาเป็นสามเณร
ได้เว้นคำไว้ ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ไว้

สถานที่ทำพิธี

คือ โรงอุโบสถ ประชุมสงฆ์ ๒๘ รูป มีพระอุปัช- ฌาย์ ๑
พระกรรมวาจาจารย์ ๑ พระอนุสาวนาจารย์ ๑ ( สองรูปหลังนี้เรียกว่าพระคู่สวด)
อีก ๒๕ รูป เรียกวาพระอันดับ ( ๑๐ รูปขึ้นไป ไม่ถึง ๒๕ รูปก็ใช้ได้)

อัฏฐบริขาร
เครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นและควรจัดหา

๑. ไตรครอง ( สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑ )
๒. บาตร ( มีเชิงรองและฝาพร้อม) ถลกบาตร สายโยค ถุงตะเครียว
๓. มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔. เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕. เครื่องกรองน้ำ ( ธมกรก)
๖. เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗. จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน ( อาศัย)
๘. ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙. โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐. สำหรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑. ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น
กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒. กระโถนบ้วน และโถนถ่าย
๑๓. ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔. สันถัต ( อาสนะ)
๑๕. หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง


หมายเหตุ ๑. ถึง ๕. เป็นสิ่งจำเป็นมาก เรียกว่า อัฏฐบริขาร แปลว่า บริขาร ๘
( มีผ้า ๕ อย่าง คือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองผ้า ๑
เหล็ก ๓ อย่าง คือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑)

ของนอกนั้นมีความจำเป็นลดน้อยลง แล้วแต่กำลังของเจ้าภาพจะจัดหามาได้อีก

ไตร วางไว้บนพานแว่นฟ้า
บาตร
สวมอยู่ในถุงตะเครียว
ภายในบาตรใส่มีดโกนพร้อมด้วยหินลับมีดโกนเข็มพร้อมทั้งกล่องเข็มและด้ายและเครื่องกรองน้ำ

ส่วนผู้จะบวชก่อนจะเข้าโบสถ์ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อน
ว่า “วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง
สัพพะ เม
โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต”


การบรรพชาอุปสมบท
คำขอบรรพชาอุปสมบท
คำกล่าวขอไตรสรณคมน์และศีล
คำขอนิสัย การให้นิสัย
คำบอกสมณบริขาร
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อม-คำสอนซ้อม อุปสัมปทาเปกข์
คำขออุปสมบท- การอปโลกน์เผดียงสงฆ์
คำสวดถามอันตรายิกธรรม
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
คำบอกอนุศาสน์


คำทินทุผ้า คำอธิษฐาน คำเสียสละผ้า คำคืนผ้า เนื้อต้องห้าม
คำขอขมา คำวิกัปป์ผ้า คำอนุโมทนากฐิน คำลาสิกขา คำแสดงตนเป็นอุบาสก
อนุโมทนาวิธี วิธีแสดงอาบัติ คำสัตตาหะ คำสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ บทสวดสติปัฏฐาน๔
อนุโมทนาวิธี แปล บทขัดสิกขาสามเณร เจริญพระพุทธมนต์ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทพิจารณาสังขาร
ถวายพรพระ ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ บทสวดพุทธมนต์ คำสมาทานพระกรรมฐาน ปฏิทินวันพระ
กรวดน้ำตอนเย็น อะตีตะปัจจะเวกขะณะ พระสังคีณี คำปวารณาออกพรรษา หลวงปู่คำพันธ์
 กลับสู่หน้าหลัก