พิธีบรรพชาอุปสมบท



การบรรพชาอุปสมบทแบบใหม่
คำขอบรรพชาอุปสมบท
คำกล่าวขอไตรสรณคมน์และศีล
คำขอนิสัย การให้นิสัย
คำบอกสมณบริขาร
กรรมวาจาสมมติตนเพื่อสอนซ้อม-คำสอนซ้อม อุปสัมปทาเปกข์
คำขออุปสมบท- การอปโลกน์เผดียงสงฆ์
คำสวดถามอันตรายิกธรรม
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
คำบอกอนุศาสน์

พิธีบวช

คำว่า บวช มาจากคำว่า ป+ วช แปลว่าเว้นทั่ว คือเว้นจากกาม ใน
ที่นี้หมายเพียงบวชเป็นสามเณรและบวชเป็นพระภิกษุเท่านั้น จุดมุ่งหมายใน
การบวชก็คือการปฏิบัติตนเพื่อรื้อถอนออกจากความทุกข์ และทำให้แจ้งซึ่ง พระนิพพาน คือความดับทุกข์
อย่างไรก็ตาม การบวชได้แม้เพียงชั่วคราวก็ นับว่าดี เพราะนอกจากเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาแล้ว
อย่างน้อยก็ยังเป็น เหตุให้รู้จักฝึกหัดความอดทน และความเสียสละอย่างมาก อาจทำให้เข้าถึง
พุทธธรรมได้โดยใกล้ชิด

ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย
เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด  
๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้  
๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ  
๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน  
๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้
ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ  
๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย  
๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน  
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ  
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา  
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ  
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา  
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย  
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

การบวชสามเณร การบวชเป็นพระภิกษุ

วิธีบรรพชาอุปสมบทแบบอุกาสะ

คำทินทุผ้า คำอธิษฐาน คำเสียสละผ้า คำคืนผ้า เนื้อต้องห้าม
คำขอขมา คำวิกัปป์ผ้า คำอนุโมทนากฐิน คำลาสิกขา คำแสดงตนเป็นอุบาสก
อนุโมทนาวิธี วิธีแสดงอาบัติ คำสัตตาหะ คำสมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ บทสวดสติปัฏฐาน๔
อนุโมทนาวิธี แปล บทขัดสิกขาสามเณร เจริญพระพุทธมนต์ พระภิกขุปาฏิโมกข์ บทพิจารณาสังขาร
ถวายพรพระ ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ บทสวดพุทธมนต์ คำสมาทานพระกรรมฐาน ปฏิทินวันพระ
กรวดน้ำตอนเย็น อะตีตะปัจจะเวกขะณะ พระสังคีณี คำปวารณาออกพรรษา หลวงปู่คำพันธ์
 กลับสู่หน้าหลัก