พระพุทธศาสนสุภาษิต

๒ . อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท.

๒๙ . อปฺปมาโท อมตํปทํ.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/ ๕๒๔.

๓๐ . อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ.
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
ม . ม. ๑๓/ ๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/ ๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๙๐.

๓๑ . อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท .
สํ . ส. ๑๕/ ๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/ ๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๔๒.

๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.

บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๘.

๓๓ . อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/ ๕๒๔.

๓๔ . อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ม . ม. ๑๓/ ๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/ ๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๙๐.

๓๕ . อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/ ๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๔๒.

๓๖ . อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม .
ที . มหา. ๑๐/ ๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/ ๒๓๑.

๓๗ . อปฺปมาทรตา โหถ.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๘.

อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุตฺเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส.
คนมีปัญญาดี ไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท
มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้ง ( คนโง่)
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘, ๑๙.

อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.
ยศย่อมเจริญ แก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด
ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘.

มา ปมาทมนุญฺเชก มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ ปรมํ สุขํ.
อย่ามัวแต่ประมาท อย่ามัวแต่สนิทชิดชอบในกาม
เพราะผู้ไม่ประมาท พิจารณาอยู่ ย่อมถึงบรมสุข.
( พุทธ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๖.

อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตของตน.
( พุทฺธ ) ที. มหา ๑๐/ ๑๔๒.

อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.
ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท
คอยรักษาจิตของตน, จงถอนตนขึ้นจากหล่ม
เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้นฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๘.

อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพือจะเสื่อม ( ชื่อว่า ) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.
ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท
ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้
พึงละชาติ ชรา โสกะปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๕. ขุ. จู. ๓๐/ ๙๒.

อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สฺเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.
คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค