พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑๖ . ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล

๒๘๙. สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม.
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล .
อ . ส. ๑๕/ ๓๐๙. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๓๒.

๒๙๐ . ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง.
ที . ปาฏิ. ๑๑/ ๒๐๒.

๒๙๑ . อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์.
องฺ . จตุกฺก. ๒๑/ ๕๙.

๒๙๒ . อินฺทฺริยานิ รกฺขนิติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ .
ที . มหา. ๑๐/ ๒๘๘. สํ. ส. ๑๕/ ๓๗.

๒๙๓ . น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๖.

๒๙๔ . นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง .
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๒๗.

๒๙๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๑.

๒๙๖ . ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน.
ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๕.

๒๙๗ . ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๗. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๙๑. ขุ. จู. ๓๐/ ๗๔.

๒๙๙ . กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ.
คนฉลาด ย่อมละบาป.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/ ๒๑๕.

๓๐๐ . นยํ นยติ เมธาวี.
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.

๓๐๑ . อธุรายํ น ยุญฺชติ.
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.

๓๐๒. ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก.
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ.
ขุ . ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๒๐๕.

๓๐๓ . ธีโร จ พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก.
ปราชญ์มีกำลังบริหารหมู่ ให้ประโยชน์สำเร็จ.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๑.

๓๐๔ . น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๖.

๓๐๕ . สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ.
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗๐.

๓๐๖ . สนฺโต สตฺตหิเต รตา.
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์ .
ชาตกฏฺฐกถา ๑/ ๒๓๐.

๓๐๗ . ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต.
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๕.

๓๐๘ . สนฺโต สคฺคปรายนา.
สัตบุรุษ มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๔.

๓๐๙. สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๒.

๓๑๐ . อุปสนฺโต สุขํ เสติ.
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข.
วิ . จุล. ๗/ ๑๐๖. สํ. ส. ๑๕/ ๓๑๒. องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๗๕.

๓๑๑ . สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๒.

๓๑๒ . อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ.
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น .
ม . อุป. ๑๔/ ๓๔๖. องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๘๐.

๓๑๓ . โย พาโล มญฺ ติ พาลยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส.
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๒๓.

๓๑๔ . น สาธุ พลวา พาโล ยูถสฺส ปริหารโก.
คนโง่มีกำลังบริหารหมู่ ไม่สำเร็จประโยชน์.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๑.

๓๑๕ . พาโล อปริณายโก.
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๙.

๓๑๖. อุชฺฌตฺติพลา พาลา.

คนโง่ มีความเพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๒๗.

๓๑๗ . อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๕.

๓๑๘ . อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ.
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก.
สํ . ส. ๑๕/ ๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๔.

๓๑๙ . อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำทางที่ไม่ควรแนะนำ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.

๓๒๐ . อธุรายํ นิยุญฺชติ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๕๕.

๓๒๑ . หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑๕.

๓๒๒ . ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย.
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๙๑.

๓๒๓. โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา.
พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๐.

๓๒๔ . สุวิชาโน ภวํ โหติ.
ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.

๓๒๕ . ทุวิชาโน ปราภโว.
ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.

๓๒๖ . ธมฺมกาโม ภวํ โหติ.
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.

๓๒๗ . ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.
ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๔๖.

๓๒๘ . สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ.
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.

๓๒๙ . ครุ โหติ สคารโว.
ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.

๓๓๐. ปูชโก ลภเต ปูชํ.
ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.

๓๓๑ . วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ.
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
ขุ . ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.

๓๓๒ . ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา.
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๒๗.

๓๓๓ . สาธุ สมฺพหุลา ญาตี.
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ .
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๒๓.

๓๓๔ . วิสฺสาสปรมา ญาตี.
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๒.

๓๓๕ . เนกาสี ลภเต สุขํ.
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๓.

๓๓๖ . นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๕.

๓๓๗. ปริภูโต มุทุ โหติ.

คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๙.

๓๓๘ . อติติกฺโข จ เวรวา.
คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๒/ ๓๓๙.

๓๓๙ . พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย.
คนรักแล้ว มักพูดมาก.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๙.

๓๔๐ . ทุฏฺโฐปิ พหุ ภาสยิ.
คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
ขุ . ชา. ทฺวาทส. ๒๗/ ๓๓๙.

๓๔๑ . อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺญติ.
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา.เอก. ๒๗/๑๖

๓๔๒ . น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.
คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
ขุ . ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๒๘.

๓๔๓ . ยถาวาที ตถาการี.
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
ที . มหา. ๑๐/ ๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๙๔. ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/ ๑๔๖.

๓๔๔. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ.

มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๔.

๓๔๕ . กวิ คาถานมาสโย.
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๒.

๓๔๖ . พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม ( ของบุตร).
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๓๑๔.

๓๔๗ . ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ ( ของบุตร).
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๓๑๔.

๓๔๘ . อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ.
มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/ ๓๑๔.

๓๔๙ . อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส.
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์ .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๒, ๕๙.

๓๕๐ . อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ.
สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๐.

๓๕๑. ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๗๓.

๓๕๒ . ภตฺตา ปญฺ าณมิตฺถิยา.
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๗.

๓๕๓ . สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ.
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐.

๓๕๔ . โย จ ปุตฺตานมสฺสโว.
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐.

๓๕๕ . ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๑.

๓๕๖ . ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ.
ควรทำแต่ความเจริญ . อย่าเบียดเบียนเขา.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๑๒.

๓๕๘. รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ.
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
ขุ . ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๓๖.

อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ โย เจ น ปฏิคณฺหติ
โกปนฺตโร โทสครุ ส เวรํ ปฏิมุจฺจติ.
เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง
โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่าหมกเวรไว้.
( เทวดา) สํ. ส. ๑๕/ ๓๔.

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ.
ในหมู่มนุษย์ คนที่ถึงฝั่ง ( นิพพาน) มีน้อย,
ส่วนประชานอกนี้ วิ่งอยู่ตามชายฝั่ง.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๖.

อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ เอกคฺคํ สุสมาหิตํ
สติ กายคตา ตฺยตฺถุ นิพฺพิทาพหุโล ภว.
จงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง ด้วยอสุภสัญญา
จงมีสติไปในกาย จงมีความเบื่อหน่ายมาก ( ในสังขารทั้งปวง).
( วงฺคีสเถร) สํ. ส. ๑๕/ ๒๗๗.

 อหึสกา เย มุนโย นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.
มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์
มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๕.

เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก
ปิตริ มิจฺฉา จริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ.
ผู้ที่ ( มารดา) บิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้
ไม่บำรุง ( มารดา) บิดา ประพฤติผิดใน ( มารดา) บิดา ย่อมเข้าถึงนรก.
( โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สคฺตติ. ๒๘/ ๖๖.

เอวํ พุทฺธํ สรนฺตานํ ธมฺมํ สงฺฆญฺจ ภิกฺขโว
ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส น เหสฺสติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกล้า ความครั่นคร้าม
ขนพองสยองเกล้า จักไม่มี.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๒๓.

เอวํ มนฺทสฺส โปสสฺส พาลสฺส อวิชานโต
สารมฺภา ชายเต โกโธ โสปิ เตเนว ฑยฺหติ.
ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี
เขา ย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๘๐.

โอโนทโร โย สหเต ชิฆจฺนํ ทานฺโต ตปสฺสี มิตปานโภชโน
อาหารเหตุ น กโรติ ปาปํ ตํ เว นรํ สมณมาหุ โลเก.
คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตนมีความเพียร
กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาปเพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล
ว่าสมณะในโลก.
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๗๔.

กาเม คิทฺธา กามรตา กาเมสุ อธิมุจฺฉิตา
นรา ปาปานิ กตฺวาน อุปปชฺชนฺติ ทุคฺคตึ.
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำ
บาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคติ.
( ปจฺเจกพุทฺธ) ขุ. ชา สฏฺฐิ. ๒๘/ ๓๓.

คาเม วา ยทิวารญฺเญ นินฺเน วา ยทิวา ถเล
ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ ตํ ภูมิรามเณยฺยกํ.
พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม
ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๘.

โจทิตา เทวทูเตหิ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา
เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ หีนกายูปคา นรา.
คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่,
คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
( พุทฺธ) ม. อุป. ๑๔/ ๓๔๖.

โจโร ยถา สนฺธฺมุเข คหีโต สกมฺมุนา หญฺ ติ ปาปธมฺโม
เอวํ ปชา เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก สกมฺมุนา หญฺ ติ ปาปธมฺโม.
โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรม
ของตนฉันใด ประชาผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อน
เพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น .
( รฏฺฐปาลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๙.

ชาติถทฺโธ ธนถทฺโธ โคตฺตถทฺโธ จ โย นโร
สญฺญาตึ อติมญฺเญติ ตํ ปราภวโต มุขํ.
คนใด หยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะทรัพย์ หยิ่งเพราะสกุล
ย่อมดูหมิ่นญาติของตน ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของคนนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๗.

ตํ พฺรูมิ อุปสนฺโตติ กาเมสุ อนเปกฺขินํ
คนฺถา ตสฺส น วิชฺชนฺติ อตาริ โส วิสตฺติกํ.
เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายนั้นว่าผู้สงบ ,
เครื่องร้อยรัดของเขาไม่มี เขาจึงข้ามตัณหาว้าวุ่นไปได้.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๙๕, ๒๙๗.

เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
นารีนํ วสงฺคโต น ภาสติ ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา.
ถึงเป็นคนมีเดช มีปัญญาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
อยู่ในอำนาจของสตรีเสียแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์
ถูกพระราหูบังฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ชา อสีติ. ๒๘/ ๑๒๗.

ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา.
สัตบุรุษย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๕.

ธีโร โภเค อธิคมฺเม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ,
เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๒๐๕.

ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ
ทุกฺเขน ผุฏฐา ขลิตาปิ สนฺตา ฉนฺทา จ โทสา น ชหนฺติ ธมฺมํ.
บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน,
สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้อง แม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม
เพราะฉันทาคติและโทสาคติ.
( สรภงฺคโพธิสตฺต) ชาตกฏฺฐกถา. ๗/ ๓๘๘.

เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา
หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ กปิ อารามิโก ยถา.
การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์
ก็นำความสุขมาให้ไม่ได้เลย, ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์
ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.

หิ สพฺเพสุ ฐาเนสุ ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถีปิ ปณฺฑิตา โหติ ตตฺถ ตตฺถ วิจกฺขณา.
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่ , แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต
มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน.
( เทวดา) ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/ ๒๔๑.

นินฺทาย นปฺปเวเธยฺย น อุณฺณเมยฺย ปสํสิโต ภิกฺขุ
โลกํ สห มจฺฉริเยน โกธํ เปสุณิยญฺจ ปนุเทยฺย.
ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ
ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่
ความโกรธ และความส่อเสียดเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๖. ขุ. มหา. ๒๙/ ๔๖๔, ๔๖๖.

 ปณฺฑิโต จ วิยตฺโต จ วิภาวี จ วิจกฺขโณ
ขิปฺปํ โมเจติ อตฺตานํ มา ภายิตฺถาคมิสฺสติ.
ผู้ฉลาดเฉียบแหลม แสดงเหตุและไม่ใช่เหตุได้แจ่มแจ้ง
และคาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลื้องตน ( จากทุกข์) ได้ฉับพลัน
อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้.
( ราช) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๔๔.

ปณฺฑิโตติ สมญฺ าโต เอกจริยํ อธิฏฺฐิโต
อถาปิ เมถุเน ยุตฺโต มนฺโทว ปริกิสฺสติ.
ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต,
ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๙๔. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๘๖.

ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส อุปกฺกิเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ
อนิสฺสิโต เฉตฺวา สิเนหโทสํ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ผู้ฉลาดและเครื่องกั้นจิต ๕ ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด
ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน นอแรดฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๘. ขุ. จู. ๓๐/ ๔๑๐.

ปุตฺตา มตฺถิ ธนมตฺถิ อิติ พาโล วิหญฺญติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ.
คนเขลาคิดว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์ จึงเดือดร้อน,
ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์ มาแต่ที่ไหนเล่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๓.

พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์
เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร.
( โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตติ. ๒๗/ ๖๖.

มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ,
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกขํ นิคจฺฉติ.
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน,
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๔.

 ยํ อุสฺสุกฺกา สงฺฆรนฺติ อลกฺขิกา พหุํ ธนํ
สิปฺปวนฺโต อสิปฺปา วา ลกฺขิกา ตานิ ภุญฺชเร.
คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวม
ทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชคย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/ ๑๑๗.

ยํ ยํ ชนปทํ ยาติ นิคเม ราชธานิโย
สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว่นแคว้น
ตำบลหรือเมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
( เตมิยโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๕๔.

ยโต จ โหติ ปาปิจฺโฉ อหิริโก อนาทโร
ตโต ปาปํ ปสวติ อปายํ เตน คจฺฉติ.
คนปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด,
เขาย่อมสร้างบาปเพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบาย เพราะเหตุนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๕๖.

ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยิย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ นํ นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ.
บุคคลรู้แจ้งธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ
เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๘.

ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี, ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้
ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.
( องฺคุลิมาล) ม. ม. ๑๒/ ๔๘๗.

ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.
บุคคลนั้นหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น,
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๒๖.

เย จ ธมฺมสฺส กุสลา โปราณสฺส ทิสํปติ
จาริตฺเตน จ สมฺปนฺนา น เต คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.
ชนเหล่าใด ฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ
และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี, ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.
( โสณโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตติ. ๒๘/ ๖๓.

เย น กาหนฺติ โอวาทํ นรา พุทฺเธน เทสิตํ
พฺยสนํ เต คมิสฺสนฺติ รกฺขสีหิว วาณิชา.
ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว , ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ
เหมือนพ่อค้าถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น .
( พุทฺธ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๗๑.

โย จตฺตานํ สมุกฺกํเส ปเร จ อวชานติ
นิหีโน เสน มาเนน ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
ผู้ใดยกย่องตนและดูหมิ่นผู้อื่น ,
เป็นคนเลวเพราะการถือตัวเอง พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๑.

โย จ สีลญฺจ ปญฺญญฺจ สุตญฺจตฺตนิ ปสฺสติ
อุภินฺนมตฺถํ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ.
ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน.
ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่าย.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๑.

โย จ เมตฺตํ ภาวยติ อปฺปมาณํ ปฏิสฺสโต
ตนู สํโยชนา โหนฺติ ปสฺสโต อุปธิกฺขยํ.
ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ,
สังโยชน์ ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้น ย่อมเบาบาง.
( พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๕๒.

โย ทนฺธกาเล ตรติ ตรณีเย จ ทนฺธเย
อโยนิโส สํวิธาเนน พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ.
ผู้ใดย่อมรีบในกาลที่ควรช้า และช้าในกาลที่ควรรีบ,
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย.
( สมฺภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๓.

 โย ทนฺธกาเล ทนฺเธติ ตรณีเย จ ตารเย
โยนิโส สํวิธาเนน สุขํ ปปฺโปติ ปณฺฑิโต.
ผู้ใดช้าในกาลที่ควรช้า และรีบในกาลที่ควรรีบ ,
ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย.
( สมฺภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๓.

โย น หนฺติ น ฆาเตติ น ชินาติ น ชาปเย
เมตฺตโส สพฺพภูตานํ เวรนฺตสฺส น เกนจิ.
ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ,
ผู้นั้น ชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และไม่มีเวรกับใคร ๆ.
( พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/ ๑๕๒.

โย มาตรํ ปิตรํ วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.
ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้น
ในโลกนี้, เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
( สุวรฺณสามโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๙๖.

 โย เว กตญฺญู กตเวทิ ธีโร กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ
ทุกฺขิตสฺส สกฺกจฺจ กโรติ กิจฺจํ ตถาวิธํ สปฺปุริสํ วทนฺติ.
ผู้มีปรีชาใด เป็นคนกตัญญูกตเวที มีกัลยาณมิตรสนิทสนมกัน
และช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ
ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่าสัตบุรุษ.
( สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๑.

โย หเว อิณมาทาย ภุญฺชมาโน ปลายติ
หิ เต อิณมตฺถีติ ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
ผู้ใด กู้หนี้เขามากินมาใช้แล้วหลบหนีไป
ด้วยปฏิเสธว่าหนี้ของท่านไม่มี พึงรู้ผู้นั้นว่าเป็นคนเลว.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๐.

โย โหติ พฺยตฺโต จ วิสารโท จ พหุสฺสุโต ธมฺมธโร จ โหติ
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี ส ตาทิโส วุจฺจติ สงฺฆโสภโณ.
ผู้ใดเป็นคนฉลาด แกล้วกล้า เป็นผู้ฟังมาก ทรงธรรม
และประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, คนเช่นนั้นท่านเรียกว่า
ยังหมู่ให้งดงาม.
( พุทฺธ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๑๐.

ราคญฺจ โทสญฺจ ปหา โมหํ สนฺทาลยิตฺวาน สํโยชนานิ
อสนฺตสํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บัณฑิตละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว
ย่อมไม่หวาดเสียวในสิ้นชีวิต . พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๙. ขุ. จู. ๓๐/ ๔๒๖, ๔๒๗.

สเจ อินฺทฺริยสมฺปนฺโน สนฺโต สนฺติปเท รโต
ธาเรติ อนฺติมํ เทหํ เชตฺวา มารํ สวาหนํ.
ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว
จึงชื่อว่าชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด.
( พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๗๑.

สเจ ภายถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิยํ
มา กตฺถ ปาปกํ กมฺมํ อาวี วา ยทิ วา รโห.
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์,
ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ.
( พทฺธ) ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๕๐.

สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ
เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ตสฺมา น หึเส ปรํ อตฺตกาโม.
เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน
ในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐๙.

สลาภํ นาติมญฺเญยฺย นาญฺเญสํ ปิหยญฺจเร
อญฺเญสํ ปิหยํ ภิกฺขุ สมาธึ นาธิคจฺฉติ.
ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น
ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๕.

สาติเยสุ อนสฺสาวี อติมาเน จ โน ยุโต
สณฺโห จ ปฏิภาณวา น สทฺโธ น วิรชฺชติ.
ผู้ไม่ระเริงไปในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น
เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๗๙, ๒๘๔.

สารตฺตา กามโภเคสุ คิทฺธา กาเมสุ มุจฺฉิตา
อติสารํ น พุชฺฌนฺติ มจฺฉา ขิปฺปํว โอฑฺฑิตํ.
ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย
ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบ
ที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัวฉะนั้น.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐๘.

สุปิเนน ยถาปิ สงฺคตํ ปฏิพุทฺโธ ปุริโส น ปสฺสติ
เอวมฺปิ ปิยายิตํ ชนํ เปตํ กาลกตํ น ปสฺสติ.
คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์อันประจวบด้วยความฝันฉันใด,
คนผู้อยู่ย่อมไม่เห็นชนอันตนรักทำกาละล่วงไปฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๙๒. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๕๑, ๑๕๒.

เสหิ ทาเรหิ อสนฺตุฏฺโฐ เวสิยาสุ ปทุสฺสติ
ทุสฺสติ ปรทาเรสุ ตํ ปราภวโต มุขํ.
ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา
และประทุษร้ายในภริยาของคนอื่น, นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม.
( พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๘.

อกฺโกธโน อนุปนาหี อมกฺขี สุทฺธตํ คโต
สมฺปนฺนทิฏฺฐิ เมธาวี ตํ ชญฺญา อริโย อิติ.
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด
มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ.
( สารีปุตฺตเถร ) ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๔๑.

อกฺโกธสฺส กุโต โกโธ ทนฺตสฺส สมชีวิโน
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน.
ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ
สงบระงับ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน.
( นฺหาตกมุนีเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๓๔.

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปญฺญาสีลสมาหิตํ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ.
ใครควรจะติคนฉลาดประพฤติไม่ขาด
ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๕.

อนาคตปฺปชปฺปาย อตีตสฺสานุโสจนา
เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต.
คนเขลาย่อมซูบซีด เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
เพราะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗.

อนุทฺธโต อจปโล นิปโล สํวุตินฺทฺริโย
กลฺยาณมิตฺโต เมธาวี ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา.
คนฉลาด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คลอนแคลน มีปัญญา
สำรวมอินทรีย์ มีมิตรดี พึงทำที่สุดทุกข์ได้.
( อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๖๖.

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต
อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ.
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก,
บัณฑิตรู้ดังนี้แล้วไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๐.

อสฺสทฺโธ อกตญฺญู จ สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส ส เว อุตฺตมโปริโส.
นรชนใด ไม่เชื่อ ( ตามเขาว่า ) รู้จัดพระนิพพาน อันอะไร ๆ
ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว
และคายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๘.

อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคินํ.
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบตนในสิ่งควรประกอบ ละประโยชน์เสีย
ถือตามชอบใจ ย่อมกระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๓.

อสตญฺจ สตญฺจ ญตฺวา ธมฺมํ อชฺฌตฺตํ พหิทฺธา จ สพฺพโลเก
เทวมนุสฺเสหิ จ ปูชิโต โย โส สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ.
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก
มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่าย
คือเครื่องข้องได้ และเป็นมุนี.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๓๒. ขุ. มหา. ๒๙/ ๔๐๖.

อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.
สมณะภายนอกไม่มี , สังขารเที่ยงไม่มี,
ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี,
เหมือนรอยเท้าไม่มีในอากาศ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๙.

อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.
เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด
ใคร่ครวญแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๘.

อุตฺตมํ ธมฺมตํ ปตฺโต สพฺพโลเก อนตฺถิโก
อาทิตฺตาว ฆรา มุตฺโต มรณสฺมึ น โสจติ.
ผู้บรรลุธรรมอย่างสุงสุด ไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง
ย่อมไม่เศร้าโศกในเพราะความตาย เหมือนพ้นจากเรือนถูกไฟไหม้.
( ปาราสริยเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๐.

อุยฺยุญฺชนติ สตีมนฺโต น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลลํ หิตฺวา โอกโมกํ ชหนฺติ เต.
ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่
ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๗.

กายมุนึ วาจามุนึ เจโตมุนิมนาสวํ
มุนึ โมเนยฺยสมฺปนฺนํ อาหุ สพฺพปหายินํ.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ
ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๓๕๒.

กายสุจึ วาจาสุจึ เจโตสุจิมนาสวํ
สุจึ โสเจยฺยสมฺปนฺนํ อาหุ นินฺหาตปาปกํ.
บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด
ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาด ล้างบาปแล้ว ว่าเป็นผู้สะอาด.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๓๕๒.

โกธโน อุปนาหี จ ปาปมกฺขี จ โย นโร
วิปนฺนทิฏฺฐิ มายาวี ตํ ชญฺญา วสฺล อิติ.
ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว
มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้น เป็นคนเลว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๔๙.

ขตฺติยา พฺราหฺมณา เวสฺสา สุทฺทา จณฺฑาลปุกฺกุสา
สพฺเพว โสรตา ทนฺตา สพฺเพว ปรินิพฺพุตา.
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล และคนงาน
ชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว
ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด.
( พฺราหฺมณ อุทฺทาลก ) ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/ ๓๗๖.

โจรํ หรนฺตํ วาเรนฺติ หรนฺโต สมโณ ปิโย
สมณํ ปุนปฺปุนายนฺตํ อภินนฺทนฺติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป , ส่วนสมณะนำไป
ย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๒๕/ ๖๐.

ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต สุขํ เสติ หิตฺวา ชยปราชยํ.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว
สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๔๒.

ตสฺมา สตญฺจ อสตญฺจ นานา โหติ อิโต คติ
อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ สนฺโต สคฺคปรายนา.
( เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม )
คติที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน,
คืออสัตบุรุษไปนรก, สัตบุรุษไปสวรรค์.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๔๓๕.

ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺฐิตาสติ กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน
สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม ปฏิโสตคามีติ ตมาหุ ปุคฺคลํ.
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้
ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้
ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส.
( พุทฺธ ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๗.

ทุทฺททํ ททมานานํ ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ
อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สตฺ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก,
อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ
ยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๓.

ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺรมหฺมโณ.
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่
( แต่ ) เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะการกระทำ.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๒.

นิฏฺฐํ คโต อสนฺตาสี วีตตณฺโห อนงฺคโณ
อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ อนฺติโมยํ สมุสฺสโย.
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว ( พราะอรหัตผล ) ไม่สะดุ้ง
ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่า มีในที่สุด.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๓.

นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโส สพฺพโลเก ภวิตฺวา เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ
ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด
ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๓๖. ขุ. จู. ๓๐/ ๓๗๙.

ปาปํ น กยิรา วจสา มนสา กาเยน วา กิญฺจน สพฺพโลเก
กาเม ปหาย สติมา สมฺปชาโน ทุกฺขํ น เสเวถ อนตฺถสญฺหิตํ.
บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว
ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์ .
( จุลฺลโกกนทา ปชฺชุนฺนธีตา ) สํ. ส. ๑๕/ ๔๒.

มทนิมฺมทนํ โสกนุทํ สํสารปริโมจนํ
สพฺพทุกฺขกฺขยํ มคฺคํ สกฺกจฺจํ ปฏิปชฺชถ.
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา
บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวงโดยความเคารพ.
( พุทฺธ ) ขุ. พุ. ๓๓/ ๔๑๕.

มานํ ปหาย สุสมาหิตตฺโต สุเจตโส สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต
เอโก อรญฺเญ วิหรํ อปฺปมตฺโต ส มจฺจุเธยฺยสฺส ตเรยฺย ปารํ.
ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง
อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู.
( พุทฺธ ) สสํ. ส. ๒๕/ ๖.

โมสวชฺเช น นิยฺเยถ รูเป เสฺนหํ น กุพฺพเย
มานญฺจ ปริชาเชยฺย สาหสา วิรโต จเร.
บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หา
ในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และประพฤติงดเว้น
จากความผลุนผลัน.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๑๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๕๑๗.

 มาเนน วญฺจิตา เส สงฺขาเรสุ สงฺกิลิสฺสมานา เส
ลาภาลาเภน มถิตา สมาธึ นาธิคจฺฉนฺติ.
ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร
ถูกลาภและความเสื่อมลาภย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ.
( เสตุจฺฉเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๒๘๓.

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม
เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.
ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน
มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแล ชื่อว่า ผู้มีปัญญา
หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๐.

ยทา ทุกฺขํ ชรามรณนฺติ ปณฺฑิโต อวิทฺทสู ยตฺถ สิตา ปุถุชฺชนา
ทุกฺขํ ปริญฺญาย สโต ว ฌายติ ตโต รตึ ปรมตรํ น วินฺทติ.
เมื่อใด บัณฑิตรู้ว่า ชราและมรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน มีสติเพ่งพินิจอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น.
( ภูตเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๔๔.

 ยสฺส ราโค จ โทโส จ มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และมักขะ ให้ตกไป
เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม ,
เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๙.

ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺต อญฺญาย อกถงฺกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้วหาความสงสัยมิได้
เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะ บรรลุประโยชน์แล้วนั้นว่าเป็นพราหมณ์.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๗๐.

เย เกจิ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา
อวีตราคา อิธ กามโภคิโน
ปุนปฺปุนํ ชาติชรูปคา หิ เต.
ตณฺหาธิปนฺนา อนุโสตคามิโน.
คนบางพวกเหล่าใด ไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ
เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้ , คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ
ลอยไปตามกระแส ( ตัณหา ) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป.
( พุทฺธ ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/ ๗.

เย จ โข พาลา ทุมฺเมธา ทุกมฺมนฺตี โมหปารุตา
ตาทิสา ตตฺถ รชฺชนฺติ มารกฺขิตฺตสฺมิ พนฺธเน.
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว
ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น.
( นนฺทกเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๒.

เย จ สีเลน สมฺปนฺนา ปญฺญายูปสเม รตา
อารกา วิรตา ธีรา น โหนฺติ ปรปตฺติยา.
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศีล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา
ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/ ๑๔๓.

เย ฌานปสุตา ธีรา เนกฺขมฺมูปสเม รตา
เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ.
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบอันเกิด
จากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญา
ผู้รู้ดีแล้ว มีสติเหล่านั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๙.

เสยํ ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา
ตาที ตตฺถ น รชฺชนฺติ ฉินฺนสุตฺตา อพนฺธนา.
ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว,
ผู้นั้น เป็นผู้คงที่มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น.
( นนฺทเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๑๒.

โย จ คุตฺเตน จิตฺเตน สุณาติ ชินสาสนํ
เขเปตฺวา อาสเว สพฺเพ สจฺฉิกตฺวา อกุปฺปตํ
ปปฺปุยฺย ปรมํ สนฺตึ ปรินิพฺพาติ อนาสโว.
ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม,
บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท.
( ยสทตฺตเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๒๓.

โย เตสุ คุตฺโต วิทิตินฺทฺริโย จเร ธมฺเม ฐิโต อชฺชวมทฺทเว รโต
สงฺคาติโค สพฺพทุกฺขปฺปหีโน น ลิมฺปตี ทิฏฺฐสุเตสุ ธีโร.
ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ ๖
ตั้งอยู่ในธรรมยินดีในความซื่อตรงและความอ่อนโยน
ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ละทุกข์ได้ทั้งหมดเที่ยวไป,
ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้วและได้ฟังแล้ว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๗๔.

โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ
อหิริโก อฺนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสฺโล อิติ.
ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่
โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๕๑.

ลาภกมฺยา น สิกฺขติ อลาเภ จ น กุปฺปติ
อวิรุทฺโธ จ ตณฺหาย รเส จ นานุคิชฺฌติ.
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเคือง
เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และไม่ติดในรส.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๐๑. ขุ. มหา. ๒๙/ ๒๘๔.

สงฺขาย โลกสฺมิ ปโรปรานิ ยสฺสิญฺชตํ ขตฺถิ กุหิญฺจิ โลเก
สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ.
ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว
ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก,
เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบไม่มีกิเลสดุจควันไฟ
ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๖๙.

สพฺพทา เว สุขํ เสติ พฺราหฺมโณ ปรินิพฺพุโต
โย น ลิมฺปติ กาเมสุ สีติภูโต นิรูปธิ.
ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม,
ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๑๒.

สพฺพโส นามรูปสฺมึ ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ
อสตา จ น โสจติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.
ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเราในนามรูปโดยประการทั้งปวง
และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่ ,
ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๖๕.

สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา วิเนยฺย หทเย ทรํ
อุปสนฺโต สุขํ เสติ สนฺตึ ปปฺปุยฺย เจตโส.
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้,
ผู้นั้น ถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๗๕.

สพฺเพสุ กาเมสุ โย วีตราโค อากิญฺจญฺญํ นิสฺสิโต หิตฺวมญฺญํ
สญฺญาวิโมกฺเข ปรเมธิมุตฺโต ติฏฺเฐยฺย โส ตตฺถ อนานุยายี.
ผู้ใดปราศจากความติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว
อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ,
ผู้นั้นจะพึงในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๘. ขุ. จู. ๓๐/ ๑๓๓.

วีตราโค ส วิเนยฺย โทสํ เมตฺตจิตฺตํ ภาวเยฺย อปฺปมาณํ
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ อนินฺทิโต พฺรหฺมมุเปติ ฐานํ.
ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิต
ไม่มีประมาณ . ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ .
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๒.

โส อุภนฺตมภิญฺญาย มชฺเฌ มนฺตา น ลิมฺปติ
ตํ พฺรูมิ มหาปุริโสติ โส อิธ สิพฺพนิมจฺจคา.
ผู้ ( ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหว ) นั้น รู้ที่สุดทั้ง ๒ แล้ว
ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา , เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ
ผู้นั้นละตัณหาเครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว .
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๕๓๒. ขุ. จู. ๓๐/ ๓๕.

โสกปริเทวมจฺฉรํ น ชหนฺติ คิทฺธา มมายิเต
ตสฺมา มุนโย ปริคฺคหํ หิตฺวา อจรึสุ เขมทสฺสิโน.
ผู้ติดในสิ่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า
ความรำพัน และความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น
มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๑๙๓. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๕๔.

โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ
อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ.
ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร , ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโค
เหมือนกัน , นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ
ผู้นั้นไม่ต้องเศร้าโศกเลย.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๙.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค