พระพุทธศาสนสุภาษิต

๓๓ . เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา

๔๗๗. วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ.
เพราะความไว้ใจ ภัยจึงตามมา.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๐.

๔๗๘ . อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย.
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักก็มักหน่าย.
ขุ . ชา. เตรส. ๒๗/ ๓๔๗.

๔๘๐ . เอกรตฺตํ ทฺวิรตฺตํ วา ทุกฺขํ วสติ เวริสุ.
อยู่ในพวกไพรีคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๔.

๔๘๑ . ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
อยู่ร่วมกับพวกพาล นำทุกข์มาให้เสมอไปเหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๒.

๔๘๒ . ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม.
อยู่ร่วมกับปราชญ์ นำสุขมาให้เหมือนสมาคมกับญาติ.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๒.

๔๘๓. สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม.
สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๕๕.

๔๘๔ . นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี.
ผู้คบคนเลว ย่อมเลวลง.
องฺ . ติก. ๒๐/ ๑๕๘.

๔๘๕ . ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม.
สมาคมกับคนพาล นำทุกข์มาให้.
ขุ . ชา. นวก. ๒๗/ ๒๖๕.

๔๘๖ . น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย.
สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๖๑.

๔๘๗ . ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.
การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
ขุ . เถร. ๒๖/ ๔๐๕.

๔๘๘ . น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ.
ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๔๖.

๔๘๙ . พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ.
ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๒.

๔๙๐. ยตฺถ เวรี นิวีสติ น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต.
ไพรีอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๔.

๔๙๑ . สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส.
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๕๗.

๔๙๒ . น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺเฐ วิสฺสฏฺเฐปิ น วิสฺสเส.
ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๐.

๔๙๓ . อนตฺถา เยว วฑฺฒนฺติ พาลํ ปจฺจูปเสวโต.
เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย.
นัย . ขุ. ชา. นวก. ๒๗/ ๒๖๕.

๔๙๔ . นาสฺมเส กตปาปมฺหิ.
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป .
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๙๐.

๔๙๕ . นาสฺมเส อลิกวาทิเน.
ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อย ๆ .
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๙๐.

๔๙๖ . นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺ มหิ.
ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว .
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๙๐.

๔๙๗. อติสนฺเตปิ นาสฺมเส.
ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม.
ขุ . ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๙๐.

๔๙๘ . อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย.
ไม่ควรคบกับคนสิ้นคิด .
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๔.

๔๙๙ . น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา.
ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว .
ขุ . ชา. ทุก. ๒๗/ ๕๕.

๕๐๐ . มาสฺสุ พาเลน สงฺคจฺฉิ อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ .
ขุ . ชา. นวก. ๒๗/ ๒๖๕.

อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ, สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ.
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๓๗.

ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา.
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด,
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๓๗.

ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ กกณฺฏาว กลึ ปาเปติ อตฺตนํ.
ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้,
เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๔๖.

ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ.
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย
คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
( วิมลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๐๙.

ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา.
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด,
การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น.
( ราชธีตา) ขุ. ชา มหา. ๒๘/ ๓๐๓.

ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ,
โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส.
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด,
เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๓/ ๔๓๗.

สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กรยฺย ปณฺฑิโต. ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.
บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนที่ศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต , เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
( อานนฺทเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๐๕.

อุทฺธโต จปโล ภิกฺขุ มิตฺเต อาคมฺม ปาปเก
สํสีทติ มโหฆสฺมึ อุมฺมิยา ปฏิกุชฺชิโต.
ภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน คลอนแคลน อาศัยมิตรชั่ว
ถูกคลื่นซัดย่อมจมลงในน่านน้ำใหญ่.
( อญฺญาโกณฺฑญฺ เถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๖๖.

ธมฺมกาโม สุตาธาโร ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก
สกฺกจฺจํ ปยิรุปาเสยฺย สีลวนฺเต พหุสฺสุเต.
พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ทรงไว้ซึ่งสุตะ เป็นผู้สอบถาม
เข้าไปนั่งใกล้ผู้มีศีลและเป็นพหุสูตโดยเคารพ.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๒.

นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้
ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ มีปัญญา, พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น,
เมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๕.

นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี น จ หาเยถ กทาจิ ตุลฺยเสวี
เสฏฺฐมุปนมํ อุเทติ ขิปฺปํ ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชถ.
ในกาลไหน ๆ ผู้คบคนเลว ย่อมเลว คบคนเสมอกัน
ไม่พึงเสื่อม คบหาคนประเสริฐ ย่อมพลันเด่นขึ้น
เหตุนั้นควรคบคนที่สูงกว่าตน.
( พุทฺธ ) องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๕๘.

ปสนฺนเมว อปฺปสนฺนํ วิวชฺชเย
ปสนฺนํ ปยิรุปาเสยฺย รหทํวุทกตฺถิโก.
บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส
เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปญฺ าส. ๒๘/ ๒๓.

ปิสุเณน จ โกธเนน มจฺฉรินา จ วิภูตินนฺทินา
สขิตํ น กเรยฺย ปณฺฑิโต ปาโป กาปุริเสน สงฺคโม.
บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด
คนมักโกรธคนตระหนี่ และคนเพลิดเพลินในสมบัติ
เพราะการสมาคมกับคนชั่วเป็นความเลวทราม.
( อานนฺทเถร ) ขุ. เถร. ๒๖/ ๔๐๕.

ภเช ภชนฺตํ ปุริสํ อภชนฺตํ น ภชฺชเย
อสปฺปุริสธมฺโม โส โย ภชนฺตํ น ภชิชติ.
ควรคบกับคนที่คบตน ไม่ควรคบคนที่ไม่คบตน
ผู้ใดไม่คบคนที่คบตน ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีธรรมของสัตบุรุษ.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. ปญฺญาส. ๒๘/ ๒๓.

สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถวํ
สตํ สทฺธมฺมมญฺ าย สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
พึงสมาคมกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ
ผู้นั้นรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
( สีวเทวปุตฺต ) สํ. ส. ๑๕/ ๘๐.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค