พระพุทธศาสนสุภาษิต

๒๓ . วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

๔๑๑. กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ.

คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.
ขุ . ชา. ฉกฺก. ๒๗/ ๑๙๕.

๔๑๒ . วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร .
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๖๑.

๔๑๓ . ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ.
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๑.

๔๑๔ . อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ.
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๑.

๔๑๕. น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.
ขุ . ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๓๓.

๔๑๖ . อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย .
ขุ . ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๓๓.

๔๑๗ . อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ.
ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ.
ขุ . ชา. วีส. ๒๗/ ๔๓๔.

๔๑๘ . หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ.
คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม.
ขุ . ชา. วีส. ๒๗/ ๔๖๖.

๔๑๙ . อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ.
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้ .
ม . อุป. ๑๔/ ๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๕.

๔๒๐ . วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์ .
สํ . ส. ๑๕/ ๓๓๐.

๔๒๑ . กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.
นัย - ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๗๘.

๔๒๒. ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย.

พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
องฺ . ปญฺจก. ๒๒/ ๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/ ๑๘๐.

อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฐาเปติ อตฺตานํ อณํ อคฺคึว สนฺธมํ.
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น .
( พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒.

อโมฆํ ทิวสํ กริรา อปฺเปน พหุเกน วา
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ.
ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก
เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น
ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น.
( สิริมณฺฑเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๓๕.

 อุฏิฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมฺภตํ อนุรกฺขติ.
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการ
เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้.
( พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๙๘.

จกฺขุมา วิสมานีว วิชฺชมาเน ปรกฺกเม
ปณฺฑิโต ชีวโลกสฺมึ ปาปานิ ปริวชฺชเย.
เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย
เหมือนคนมีจักษุเว้นทางอันไม่เรียบร้อยฉะนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๔๙.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ก็ประเสริฐกว่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๐.

โย จ สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ
กรํ ปุริสกิจฺจานิ โส, สุขา น วิหายติ.
ผู้ไม่สำคัญความหนาวและความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำกิจ ของบุรุษ ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข.
( พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/ ๑๙๙.

โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธาสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี.
( พุทฺธ ) ขุ. จริยา. ๒๒/ ๕๙๕.

ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๑.

นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ อรตึ ภตฺตสมฺมทํ
วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา อริยมคฺโค วิสุชฺฌติ.
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๐.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ประเสริฐกว่าผู้นั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๐.

สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ.
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ
ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก.
( พุทฺธ ) สํ. ส. ๑๕/ ๗๔.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค