พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑๓ . ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา

๒๔๗. นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี.
สํ . ส. ๑๕/ ๙.

๒๔๘ . ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก .
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.

๒๔๙ . โยคา เว ชายตี ภูริ.
ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.

๒๕๐ . อโยคา ภูริสงฺขโย.
ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.

๒๕๑ . สุโข ปญฺญปฏิลาโภ.
ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๙.

๒๕๒ . ปญฺญา นรานํ รตนํ.
ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน .
สํ . ส. ๑๕/ ๕๐.

๒๕๓. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย.
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.
นัย - ม. ม. ๑๓/ ๔๑๓. นัย- ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๙.

๒๕๔ . นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.
ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๖๕.

๒๕๖ . ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต.
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๖๕.

๒๕๗ . ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา .
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.

๒๕๘ . สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.
ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๑.

๒๕๙ . ปญฺญายตฺถํ วิสฺสติ.
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา .
องฺ . สตฺตก. ๒๓/ ๓.

๒๖๐. ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ.
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา.
ขุ . สุ. ๒๕/ ๓๖๑.

๒๖๑ . ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ.
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด.
ขุ . ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๕๔๑.

๒๖๒ . ปญฺญาชิวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐสุด.
สํ . ส. ๑๕/ ๕๘, ๓๑๕. ขุ. สุ. ๒๕/ ๓๖๐.

๒๖๓ . เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถิ.
ผู้มีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.
ขุ . ชา. เอก. ๒๗/ ๓๒.

๒๖๔ . พหูนํ วต อตฺถาย สปฺปญฺโญ ฆรมาวสํ.
ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก.
องฺ . อฏฺฐก. ๒๓/ ๒๔๙.

๒๖๕ . สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา.
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา .
นัย . ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๗๘.

๒๖๖. ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๕๒.

๒๖๗ . ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย.
ไม่ควรประมาทปัญญา .
ม . อุป. ๑๔/ ๔๓๖.

อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิวทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.
คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่
อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๕.

ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเกน วิตฺตวาปิ น ชีวติ.
ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้,
แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
( มหากปฺปินเถร) ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๕๐.

ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวสตึ วเส.
ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน
รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้.
( พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๙.

 ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ ค
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ.
คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์
ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไปตามผู้มี ปัญญา.
( สภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๑.

มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ.
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๓.

ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ.
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น.
( หตฺถาจริย) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๔๐.

ยาวเทว อนตฺถาย ตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ.
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย,
มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๔.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.
ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๑๙.

อทฺธา หิ ปญฺญา ว สตํ ปสตฺถา กนฺตา สิรี โภครตา มนุสฺสา
ณาณญฺจ พุทฺธานมตุลฺยรูปํ ปญฺญํ น อจฺเจติ สิรี กทาจิ.
สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้ คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ
จึงใคร่ได้สิริ ( ยศ ) ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้
ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
( ปโหสธโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๒๘.

 คมฺภีรปญฺหํ มนสาภิจินฺตยํ นจฺจาหิตํ กมฺม กโรติ ลุทฺทํ
กาเลคตํ อตฺถปทํ น ริญฺจติ ตถาวิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ.
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่ว
อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์
ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา.
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๐.

ทาโส ว ปญฺญสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ
ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล.
คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา,
เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน
คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น.
( มโหสธโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๒๘.

  ปญฺญวา กามคเณ อเวกฺขติ อนิจฺจโต ทุกฺขโต โรคโต จ
เอวํ วิปสฺสี ปชหาติ ฉนฺทํ ทุกฺเขสุ กาเมสุ มหพฺภเยสุ.
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และเป็นโค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม
อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้.
( สรภงฺคโพธิสตฺต ) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/ ๕๔๒.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค