พระพุทธศาสนสุภาษิต

๑๘ . มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู

๓๖๔. สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๔๕.

๓๖๕ . อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๘๕. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.

๓๖๖ . น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย.
ม . อุ. ๑๔/ ๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๕.

๓๖๗ . ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน.
สํ . ส. ๑๕/ ๓. องฺ. ติก. ๒๐/ ๑๙๘. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/ ๔๑๖.

๓๖๘ . น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน.
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.

๓๖๙ . น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ.
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.

๓๗๐. น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ.

กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้.
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.

๓๗๑ . น ทีฆมายุํ ลภเต ธเนน.
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์ .
ม . ม. ๑๓/ ๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/ ๓๗๘.

๓๗๒ . สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก.
ที. มหา. ๑๐/ ๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/ ๒๓๒.

๓๗๓ . อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.

ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
ที . มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๓๑๗.

อจฺจยนฺติ อโหรตฺตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ
อายุ ขีวติ มจฺจานํ กุนฺนทีนํว โอทกํ.
วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป
อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๕๙. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๔๔.

อปฺปมายุ มนุสฺสานํ หิเฬยฺย นํ สุโปริโส
จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม.
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย
พึงประพฤติดุจคนที่ศีรษะถูกไฟไหม้ มฤตยูจะไม่มาถึงย่อมไม่มี.
( พุทธ) สํ. ส. ๑๕/ ๑๕๘. ขุ. มหา. ๑๙/ ๑๔๓.

ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
( พุทฺธ) นัย- ที. มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘.

อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวีสํ
วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺฐิตํ นปฺปสเหยฺย มจฺจุ.
จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้
ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.

ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
อติตฺตํ เยว กาเมสุ อนฺตโก กุรุเต วสํ.
ความตายย่อมทำคนเก็บดอกไม้ ( กามคุณ)
มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๑.

ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.
ผู้เลี้ยงโค ย่อมต้องฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด,
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๓.

ยถาปิ กุมฺภการสฺส กตา มตฺติกภาชนา
สพฺเพ เภทปริยนฺตา เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด,
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.
( พุทฺธ) นัย- ที. มหา. ๑๐/ ๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘.

ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช
เอวํ ชราย มรเณน วุยฺหนฺเต สพฺพปาณิโน.
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด,
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น.
( เตมิยโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๑๖๔.

อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้.
( นนฺทเทวปุตฺต ) สํ. ส. ๑๕/ ๘๙.

 ผลานมิว ปกฺกานํ ปาโต ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ.
ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมีเพราะต้องตายแน่นอน
เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมีเพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น.
( พุทฺธ ) ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/ ๑๔๕.

รูปธาตุปริญฺญาย อรูเปสุ อสณฺฐิตา
นิโรเธ เย วิมุจฺจนฺติ เต ชนา มจฺจุหายิโน.
ชนเหล่าใด กำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ
ย่อมหลุดพ้นไปได้ในนิโรธธาตุ,
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้.
( พุทฺธ ) ขุ. อิติ. ๒๕/ ๒๖๕.


หมวดหมู่ สารบัญ
๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน ๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู
๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท ๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร
๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม ๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ
๔ . กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส ๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา
๕ . โกธวรรค คือ หมวดโกรธ ๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา
๖ . ขันติวรรค คือ หมวดอดทน ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร
๗ . จิตตวรรค คือ หมวดจิต ๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร
๘ . ชยวรรค คือ หมวดชนะ ๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน ๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๑๐ . ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์ ๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา
๑๑ . ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม ๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ
๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ
๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา ๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี
๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท ๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล
๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป ๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข
๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล ๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา
๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ ๓๔. หมวด คน


         
อักษรย่อบอกนามคัมภีร์
องฺ. อฏฺฐก. องฺคุตฺตรนิกาย   อฏฺฐกนิปาต
องฺ. จตุกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   จตุกฺกนิปาต
องฺ. ฉกฺก. องฺคุตฺตรนิกาย   ฉกฺกกนิปาต
องฺ. ติก. องฺคุตฺตรนิกาย   ติกนิปาต
องฺ. ทสก. องฺคุตฺตรนิกาย   ทสกนิปาต
องฺ. ปญฺจก. องฺคุตฺตรนิกาย   ปญฺจกนิปาต
องฺ. สตฺตก. องฺคุตฺตรนิกาย   สตฺตกนิปาต
ขุ. อิติ. องฺคุตฺตรนิกาย   อิติวุตฺตก
ชุ. อุ. ขุทฺทกนิกาย   อุทาน
ขุ. จริยา ขุทฺทกนิกาย   จริยาปิฏก
ขุ. จู. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จูฬนิทฺเทส
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อฏฺฐกนิปาต
ขุ. ชา. อสีติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก อสีตินิปาต
ขุ. ชา. เอก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก เอกนิปาต
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตฺตาฬีสนิปาต
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก จตุกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ฉกฺกนิปาต
ขุ. ชา. ตึส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ตึสนิปาต
ขุ. ชา. ติก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ติกนิปาต
ขุ. ชา. เตรส ขุทฺทกนิกาย ชาดก เตรสนิปาต
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทฺวาทสนิปาต
ขุ. ชา. ทสก ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทสกนิปาต
ขุ. ชา. ทุก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ทุกนิปาต
ขุ. ชา. นวก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก นวกนิปาต
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปกิณฺณกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺจกนิปาต
ขุ. ชา. ปญฺญาส. ขุทฺทกนิกาย ชาดก ปญฺญาสนิปาต
ขุ. ชา. มหา. ขุทฺทกนิกาย ชาดก มหานิปาต
ขุ. ชา. วีสติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก วีสตินิปาต
ขุ. ชา. สฏฺฐี. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สฏฺฐีนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตก ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตกนิปาต
ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุทฺทกนิกาย ชาดก สตฺตตินิปาต
ขุ. เถร. ขุทฺทกนิกาย   เถราคาถา
ขุ. เถรี. ขุทฺทกนิกาย   เถรีคาถา
ขุ. ธ. ขุทฺทกนิกาย   ธมฺมปทคาถา
ขุ. ปฏิ. ขุทฺทกนิกาย   ปฏิสมฺภิทามคฺค
ขุ. พุ. ขุทฺทกนิกาย   พุทฺธวํส
ขุ. มหา. ขุทฺทกนิกาย   มหานิทฺเทส
ขุ. วิ. ขุทฺทกนิกาย   วิมานวตฺถุ
ขุ. เปต. ขุทฺทกนิกาย   เปตวตฺถุ
ขุ. สุ. ขุทฺทกนิกาย   สตฺตนิปาต
ที. ปาฏิ. ทีฆนิกาย   ปาฏิกวคฺค
ที. มหา. ทีฆนิกาย   มหาวคฺค
ม. อุป. มชฺฌิมนิกาย   อุปริปณฺณาสก
ม. ม. มชฺฌิมนิกาย   มชฺฌิมปณฺณาสก
วิ. จุล. วินัยปิฏก   จุลฺลวคฺค
วิ. ภิ. วินัยปิฏก   ภิกฺขุณีวิภงฺค
วิ. มหา. วินัยปิฏก   มหาวคฺค
วิ. มหาวิภงฺค. วินัยปิฏก   มหาวิภงฺค
สํ. นิ. สํยุตฺตนิกาย   นิทานวคฺค
สํ. มหา. สํยุตฺตนิกาย   มหาวารวคฺค
สํ. ส. สํยุตฺตนิกาย   สคาถวคฺค